วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

The Little Book of Valuation - Aswath Damodaran (ตอนที่ 3/6)

5.     relative valuation

เปรียบเทียบระหว่างหุ้นของบริษัทที่คล้ายๆกันว่าตัวไหนราคาถูกแพงกว่ากัน มีขั้นตอนคร่าวๆคือ
1.       หาบริษัทที่คล้ายๆกันมาเป็นตัวเปรียบเทียบ (หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของธุรกิจกลุ่มเดียวกันก็ได้)
เช่น บริษัทที่มี growth, risk และ cashflow ใกล้เคียงกัน (เพราะค่าพวกนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ratio ต่างๆที่จะเอามาเปรียบเทียบกัน)
2.       คำนวณหาค่าที่จะมาเปรียบเทียบ เช่น P/E P/B พวกนี้ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีขนาดต่างกันได้
3.       เทียบ ratio กัน ถ้า ratio ที่สูงต่ำต่างกันไม่สามารถอธิบายได้ด้วย character ของบริษัท ก็หมายความว่า มันอาจจะ undervalued หรือ overvalued ได้

วิธีเปรียบเทียบแบ่งได้ 3 กลุ่ม (1กับ2 คล้ายๆกับตอนคำนวณ intrinsic value)
1.       เปรียบเทียบเฉพาะ equity
2.       เปรียบเทียบทั้งบริษัท (firm)
3.       เปรียบเทียบเฉพาะ operating asset (คือแบบ 2 แต่หักเงินสดออก)

หลักการสำคัญ
1.       ตัวเลขที่มาเทียบกันต้องคำนวณมาวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าใช้ P/E ตัว E ต้องหามาด้วยวิธีเดียวกัน (last year earning, last 4 quarter earning หรือ forward earning)
2.       ตัวตั้งกับตัวหารต้องสอดคล้องกันว่าจะ equity หรือจะ firm เช่น price / net income (อันนี้แบบ equity) หรือ operating asset / EBITDA (อันนี้แบบ firm) แต่ถ้า price / sales หรือ price / EBITDA นี่ไม่สอดคล้องกัน
3.       เปรียบเทียบกับค่าทางสถิติเพื่อดูความถูกแพงหรือความกระโดดของค่าที่คำนวณได้ แต่ให้ระวังว่า ค่าทางสถิติคำนวณมาได้ด้วยวิธีไหน เช่นค่าเฉลี่ย P/E ของตลาด ตอนคำนวณตัดเอาบริษัทที่ขาดทุนออกไปหรือเปล่า
4.       ค่าทางสถิติเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา P/E 15 อาจจะถูกที่ปีนี้ แต่อาจจะแพงเมื่อ 2-3 ปีก่อน
cashflow + risk + growth แอบมีผลกับ ratio ที่ใช้ทำ relative compare เช่น
value of equity = expected dividend next year / (cost of equity – expected growth rate)
PE  = value of equity / net income
= (expected dividend next year / net income) / (cost of equity – expected growth rate)
= dividend payout ratio / (cost of equity – expected growth rate)
ดังนั้น บริษัทที่มี growth เยอะ ความเสี่ยง(cost of equity)ต่ำ และจ่ายปันผล(payout ratio)สูง ก็ควรจะมี PE ที่สูงกว่า
หรือ
PBV = PE x (net income / book value) = PE x ROE
= ROE x dividend payout ratio / (cost of equity – expected growth rate)
หรือ
enterprise value = expected FCFF next year / (cost of equity – expected growth rate)
= EBIT x (1 – tax rate) x (1 – reinvestment rate) / (cost of equity – expected growth rate)
ดังนั้น
enterprise value / sales = after-tax operating margin x (1 – reinvestment rate) / (cost of equity – expected growth rate)
สรุปปัจจัยที่มีผลต่อ ratio ต่างๆตามตารางนี้
Multiple
growth
payout
risk
ROE
net margin
reinvestment rate
ROIC
operating margin
PE
+
+
-





PBV
+
+
-
+




Price/Sales
+
+
-

+



EV/FCFF
+

-





EV/EBITDA
+

-


-
+

EV/Capital
+

-


-


EV/Sales
+

-


-

+
เช่น ถ้า expected growth สูงก็จะมีผลให้ ratio ต่างๆสูงตาม หรือ ถ้าต้อง reinvestment สูง ค่า EV/EBITDA, EV/Capital และ EV/Sales ก็จะต่ำ
ตรงนี้ก็จะใช้หาหุ้นที่ undervalued ได้ เช่นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้
Multiple
variable
character
PE
growth
PE ต่ำแต่ growth สูง
PBV
ROE
PBV ต่ำแต่ ROE สูง
Price/Sales
net margin
P/S ต่ำแต่ net margin สูง
EV/EBITDA
reinvestment rate
EV/EBITDA ต่ำและ reinvestment rate ต่ำ
EV/Capital
return on capital
EV/Capital ต่ำแต่ return on capital สูง
EV/Sales
after-tax operating margin
EV/Capital ต่ำแต่ after-tax operating margin สูง



blogอื่นๆของหนังสือเล่มนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น