วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

The Little Book of Valuation - Aswath Damodaran (ตอนที่ 1/6)

เนื้อหาในหนังสือแบ่งเป็นสามส่วนหลักๆคือ
1.       อธิบายหลักการหามูลมูลค่าหุ้นสองแบบคือแบบ intrinsic value โดยใช้ DCF กับแบบ relative valuation โดยใช้ ratio มาเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆที่คล้ายๆกัน
2.       แบ่งหุ้นออกเป็น 4 กลุ่มตาม lifecycle คือ young company, growth company, mature company กับ declining company และอธิบายประเด็นหลักๆในการประเมินมูลค่าหุ้นแต่ละกลุ่ม
3.       เสริมเรื่องการหามูลค่าหุ้นในอุตสาหกรรมต่างๆคือ หุ้นกลุ่ม financial service หุ้นกลุ่ม cyclical/commodity และ หุ้นที่มี intangible asset เยอะ

1.     การประเมินมูลค่าหุ้น

การประเมินมูลค่าหุ้นมีสองแบบคือ
1.       แบบ intrinsic value โดยหาจาก cash flow
บนสมมุติฐานว่า ไม่เชื่อใน market efficiency
2.       แบบ relative เปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
บนสมมุติฐานว่า market efficient ในภาพรวม แต่อาจจะให้มูลค่ากับหุ้นแต่ละตัวผิดพลาด
เนื่องจากสมมุติฐานที่แตกต่างกัน การประเมินมูลค่าทั้งสองแบบจึงอาจจะได้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน (วิธีนึงคำนวณแล้ว undervalued อีกวิธีคำนวณแล้ว overvalued) หรือแม้แต่ในวิธีเดียวกัน ก็อาจจะให้ผลไม่เหมือนกันก็ได้ (เปรียบเทียบด้วย PE แล้ว overvalued แต่คำนวณ PEG แล้ว undervalued)

2.     ข้อควรระวัง

1.       มันมี bias อยู่ในการประเมินเสมอ
1.1.     ผู้ประเมินมีมุมมองเป็นบวกหรือเป็นลบกับหุ้นตัวนั้นอยู่แล้ว
1.2.     นักวิเคราะห์ที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์กับบริษัทที่ถูกประเมิน
1.3.     ใช้ข้อเท็จจริงในการประเมินมากกว่าตัวเลขที่เป็นความคิดเห็น
2.       ตัวเลขที่ได้จากการประเมินผิดพลาดได้เสมอ
3.       พยายามสร้างแบบจำลองการประเมินที่ไม่ซับซ้อน
ความซับซ้อนมาจากคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น + ข้อมูลที่หาได้ง่ายขึ้น

3.     เครื่องมือที่ใช้

1.       time value of money
1.1.     เงินในอนาคตมีค่าน้อยกว่าเงินในวันนี้เพราะ(1) เงินเฟ้อ (2) ความไม่แน่นอนที่จะได้เงิน (3) ความต้องการใช้เงินในวันนี้
1.2.     ปัจจัยที่มีผลกับการคำนวณ present value คือ (1) discount rate (2)growth rate (3) ระยะเวลา
1.3.     วิธีการคำนวณมี 3 แบบ

ระยะเวลา
สูตรคำนวณ
ตัวอย่าง
Simple
ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
CF/(1+r)n
มูลค่าของเงิน 1,000 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อคิด discount rate ที่ 8% คือ
1000/(1.08)10 = 463.19
Annuity
จำกัด
CF x (1+g) x
[1-(1+g)n/(1+r)n] / (r-g)
มูลค่าของกระแสเงินสดที่จะได้ใน 20 ปี เริ่มต้นที่ 1.5 ล้านบาทและมีอัตราการเติบโต 3% ที่ discount rate 10% คือ
(1.5 x 1.03) x [1 - 1.0320/1.1020] / (0.1 - 0.03) = 16.146
NOTE 1.5x1.03 คือเริ่มต้น 1.5 ล้านในปีที่ 0 ผ่านไป 1 ปีมี growth 3%
Perpetuity
ไม่จำกัด
CF / (r - g)
มูลค่าของปันผลคงที่ปีละ 60 บาทที่อัตราดอกเบี้ย 9% คือ 60/0.09 = 667 บาท

2.       ความเสี่ยง
2.1.     ความเสี่ยงมีผลต่อมูลค่า
2.2.     ความเสี่ยงในการลงทุนแต่ละอย่างแตกต่างกันไป
2.3.     ใน DCF ความเสี่ยงจะคิดโดยใช้ discount rate ถ้าเสี่ยงเยอะ discount rate ก็จะสูงตามไป
3.       งบการเงิน (ไม่ลงรายละเอียดนะ เพราะจะยาวมาก เอาเป็นว่าสมมุติว่ารู้อยู่แล้ว)
4.       สถิติ (รายละเอียดหาอ่านที่อื่นเอานะ)
4.1.     frequency distribution, average, median, standard deviation
-          เพื่อดูว่าค่าที่ประเมินได้ make sense แค่ไหน
-          ถ้ากลุ่มตัวอย่างมีค่ากระโดดมาก ใช้ median จะ make sense กว่าใช้ average
4.2.     correlation
เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขสองตัว
4.3.     regression
-          เพื่อประมาณค่าที่ควรจะเป็นของตัวเลขตัวหนึ่งจากอีกตัวหนึ่ง (ถ้าตัวเลขสองตัวนั้นมีความสัมพันธ์กัน)
-          simple regression แสดงความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง
เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับอัตราเงินเฟ้ออาจจะเป็น
Interest rate = 1.5% + 0.8 x Inflation rate ที่ R Squared (ค่าความแม่น?) = 60%

ดังนั้น ถ้าอัตราเงินเฟ้อเป็น 2% อัตราดอกเบี้ยก็น่าจะเป็น 1.5 + 0.8x2 = 3.1% ที่ความแม่นประมาณ 60%

blogอื่นๆของหนังสือเล่มนี้

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ ผมเพิ่งรู้จัก ผู้แต่ง เลยมาตามอ่านง....

    ตอบลบ