วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

สรุปความจากหนังสือ One Up On Wall Street (ปีเตอร์ ลินช์) - ส่วนที่1


หนังสือ "เหนือกว่าวอลสตรีท"
สำนักพิมพ์ ฟิเดลลิตี้ พับลิชชิ่ง
เรียบเรียงโดยดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จากหนังสือเรื่อง"One Up On Wall Street" ของ Peter Lynch, John Rothchild

หนังสือเกี่ยวกับแนวคิดการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์ ผู้จัดการกองทุนที่เน้นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เจ้าของที่มาของแนวคิดและวลีสำคัญๆหลายๆอย่าง เช่น
  • PE Growth
  • อย่าถอนดอกไม้และรดน้ำวัชพืช
  • หุ้น 10 เด้ง

คำนำ & บทนำ

·         ถ้าสามารถติดตามข้อมูลได้เพียงชิ้นเดียว ให้ติดตามกำไร
·         ราคาหุ้นเป็นเพียงเรื่องของความไขว้เขวเพียงเล็กๆน้อยๆ
·         การชอบร้านค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นเหตุผลที่ดีที่จะให้ความสนใจบริษัท แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ซื้อหุ้น
·         ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์คือการประมาณการว่าบริษัทถึงจุดอิ่มตัวหรือยัง การเติบโตจะมาจากไหน เมื่อไหร่มันจะเริ่มชะลอตัว
·         ไม่จำเป็นต้องทำเงินได้ทุกตัวในหุ้นที่ลือก
·         คนธรรมดาก็สามารถเลือกหุ้นให้ดีพอหรือดีกว่าผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนที่1 เตรียมตัวลงทุน

บทที่1 กำเนิดนักลงทุน

บทที่2 คนทึ่มผู้เฉียบแหลมแห่งวอลสตรีท

·         นักวิเคราะห์หุ้นจะไม่มีวันตกงานแม้จะทำให้ลูกค้าขาดทุนจากIBM
นักวิเคราะห์มีความเสี่ยงจากการเลือกหุ้นแปลกๆที่ไม่เป็นที่รู้จักถ้ามันเกิดพลาดขึ้นมา
·         ผู้จัดการกองทุนมีกฏเกณฑ์ข้อบังคับหลายอย่าง(ที่อาจจะไม่สมเหตุสมผล)ทำให้ไม่สามารถซื้อหุ้นที่น่าสนใจได้ เช่นมูลค่าตลาดเล็กเกินไป มีสหภาพแรงงาน อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อ
·         นักลงทุนทั่วไปมีอิสระที่จะเลือกถือเงินสด100%ได้ แต่ผู้จัดการกองทุนทำไม่ได้

บทที่3 นี่เป็นการพนันหรืออะไร

·         ในระยะยาวแล้วลงทุนในหุ้นดีกว่าลงทุนในหนี้
·         ความผันผวนในอัตราดอกเบี้ยทำให้การลงทุนในพันธบัตรมีความเสี่ยงเหมือนกัน
·         ส่วนใหญ่แล้วหุ้นมักได้รับการยอมรับว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยในช่วงที่มันไม่ใช่
·         การลงทุนคือการพนันที่สามารถจัดการให้โอกาสชนะเอียงมาอยู่ด้านเราได้

บทที่4 สอบให้ผ่าน

·         ก่อนที่จะซื้อหุ้น เช็คก่อนว่า
1.       มีบ้านแล้วหรือยัง
·         บ้านเป็นการลงทุนที่ดีกว่าหุ้น
2.       จำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นหรือไม่
·         แม้แต่การซื้อหุ้นบลูชิพก็เสี่ยงเกินไปถ้าลืมคิดถึงเรื่องที่คาดไม่ถึงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น
·         จงลงทุนด้วยเงินเท่าที่สามารถจะเสียได้โดยไม่มีผลต่อชีวิตประจำวันเท่านั้น
3.       มีคุณสมบัติส่วนตัวที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นหรือเปล่า
·         ความอดทน การพึ่งตนเอง สามัญสำนึก อดทนต่อความเจ็บปวด ใจเปิดกว้างไม่ยึดติด ยืนหยัด อารมณ์ขัน ความยืดหยุ่น เต็มใจวิเคราะห์หุ้นเอง เต็มใจยอมรับความผิดพลาด เพิกเฉยต่อความแตกตื่นของคนทั่วไป
·         ตัดสินใจได้ในสภาวะที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์
·         อดกลั้นต่อธรรมชาติของมนุษย์และความรู้สึกของตัวเอง
·         นักลงทุนที่สะเพร่ามีอารมณ์ผันแปรไปเรื่อยๆระหว่าง กังวล à อิ่มอกอิ่มใจ à ยอมจำนน

บทที่5 ตลาดดีหรือเปล่าโปรดอย่าถาม

·         ไม่เชื่อในการทำนายตลาด แต่เชื่อในเรื่องการซื้อหุ้นที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะหุ้นที่ราคาต่ำกว่าพื้นฐานหรือไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
·         แม้จะทำนายภาวะเศรษฐกิจหรือแนวโน้มในอุตสาหกรรมได้ถูกต้อง แต่จะทำกำไรได้ก็ต้องเลือกหุ้นให้ถูกตัวอยู่ดี
หุ้นบางตัวก็ราคาลงได้แม้ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้นจะดี

สรุปส่วนที่1

·         อย่าประมาณการทักษะและความรู้ของมืออาชีพสูงเกินไป
·         ใช้ประโยชน์และข้อได้เปรียบจากสิ่งที่รู้อยู่แล้ว
·         มองหาโอกาสที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบและรับรองโดยตลาดหุ้น นั่นคือบริษัทที่อยู่นอกจอเรดาร์
·         ลงทุนในบ้านก่อนที่จะลงทุนในหุ้น
·         ลงทุนในบริษัท ไม่ใช่ในตลาดหุ้น
·         อย่าสนใจความผันผวนของราคาในช่วงสั้นๆ
·         กำไรมากๆสามารถเกิดได้กับหุ้น ขาดทุนมากๆก็สามารถเกิดได้เช่นกัน
·         การคาดการณ์เศรษฐกิจนั้นไร้ประโยชน์
·         การทำนายทิศทางของตลาดหุ้นในระยะสั้นก็ไร้ประโยชน์
·         ผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้นพอจะคาดการณ์ได้ และสูงกว่าผลตอบแทนระยะยาวจากพันธบัตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น