วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

สรุปความจากหนังสือ One Up On Wall Street (ปีเตอร์ ลินช์) - ส่วนที่2


หนังสือ "เหนือกว่าวอลสตรีท"
สำนักพิมพ์ ฟิเดลลิตี้ พับลิชชิ่ง
เรียบเรียงโดยดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จากหนังสือเรื่อง"One Up On Wall Street" ของ Peter Lynch, John Rothchild

หนังสือเกี่ยวกับแนวคิดการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์ ผู้จัดการกองทุนที่เน้นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เจ้าของที่มาของแนวคิดและวลีสำคัญๆหลายๆอย่าง เช่น
  • PE Growth
  • อย่าถอนดอกไม้และรดน้ำวัชพืช
  • หุ้น 10 เด้ง

ส่วนที่2 เลือกผู้ชนะ

บทที่6 ไล่ล่าหา10เด้ง

บทที่7 เจอแล้ว เจอแล้ว เจออะไร

·         การลงทุนโดยปราศจากการวิเคราะห์ก็เหมือนการเล่นไพ่โป๊กเกอร์โดยไม่ดูไพ่ที่หงายออกมาของคู่แข่งเลย
·         ถ้าคุณกำลังพิจารณาหุ้นเพราะความเข้มแข็งของสินค้าบางตัวที่บริษัทผลิต สิ่งแรกที่ต้องค้นหาคือ ความสำเร็จของสินค้านั้นมีผลต่อกำไรของบริษัทแค่ไหน
·         หุ้น 6 ประเภท
1.       หุ้นโตช้า = คนที่ทำงานในตำแหน่งที่มั่นคงซึ่งจ่ายเงินเดือนต่ำและเงินเดือนขึ้นค่อนข้างช้า
·         อัตราการเติบโตประมาณเท่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
·         จ่ายปันผลดีและสม่ำเสมอ
·         อุตสาหกรรมโตเร็วจะโตช้าลงในที่สุด
2.       หุ้นแข็งแกร่ง = คนที่กินเงินเดือนสูงและเงินเดือนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
·         กำไรต่อหุ้นเติบโตประมาณ10-12%ต่อปี
·         ตัวช่วยป้องกันในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย
3.       หุ้นโตเร็ว = คนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในชีวิตแต่ก็มีอัตราการล้มเหลวสูงกว่ากลุ่มแข็งแกร่ง
·         เติบโตประมาณ20-25%ต่อปี
·         บริษัทโตเร็วไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตเร็ว
·         เมื่อไหร่จะหยุดโตและต้องจ่ายเท่าไหร่เพื่อซื้อการเติบโตนั้น
·         หุ้นโตเร็วที่หมดแรงกลายเป็นหุ้นโตช้าจะลดค่าลงอย่างรวดเร็ว (เพราะP/Eจะลดลง)
4.       หุ้นวัฏจักร = คนที่ทำเงินในช่วงสั้นๆแล้วพยายามจัดเงินให้พอใช้ไปตลอดช่วงที่ไม่มีงานทำ
·         กำไรและยอดขายขึ้นลงสม่ำเสมอเป็นวัฏจักร
·         ตัวอย่างเช่น รถยนต์ สายการบิน ยาง เหล็ก เคมี
·         จังหวะเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆจะได้เปรียบ
5.       หุ้นฟื้นตัว = คนชั้นต่ำสุดของสังคมที่ยังมีแรงและความมุ่งมั่นเหลืออยู่
·         บริษัทที่ตกต่ำและเกือบล้มละลาย
6.       หุ้นทรัพย์สินมาก = คนที่ได้รับมรดกเก่าแต่ไม่ได้ใช้แรงงานของตนหาเงินเลย
·         บริษัทที่มีทรัพย์สินมีค่ามากกว่ามูลค่าทางบัญชีและตลาดมองข้ามไป
·         ประเภทของบริษัทไม่ตายตัว สามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ

บทที่8 หุ้นสมบูรณ์แบบ อะไรจะถูกขนาดนั้น

·         คุณสมบัติที่ดีของหุ้น 13 ประการ
1.       มีชื่อที่น่าเบื่อ
2.       ทำธุรกิจที่น่าเบื่อ
3.       ทำธุรกิจที่คนไม่เห็นด้วยหรือน่าขยะแขยง
4.       เป็นบริษัทที่แตกออกมาจากฝ่าย/ส่วนหนึ่งของบริษัท
5.       สถาบันถือน้อย นักวิเคราะห์ไม่ติดตาม
6.       มีข่าวลือว่าเกี่ยวข้องกับขยะพิษหรือมาเฟีย
7.       ทำธุรกิจที่น่าโศกเศร้าและหดหู่
8.       อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่โต
9.       บริษัทที่มีจุดเด่นอะไรซักอย่าง
10.   ทำสินค้าที่คนต้องซื้อมันเรื่อยๆ
11.   เป็นผู้ใช้เทคโนโลยี (ไม่ใช่ผู้ขายเทคโนโลยี)
ได้ประโยชน์(ต้นทุนลด+กำไรเพิ่ม)จากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อยๆ
12.   บุคคลภายในบริษัทกำลังซื้อหุ้น
ในสถานการณ์ปกติ การขายหุ้นไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษ
การขายของบุคคลภายในเป็นเหตุผลที่แย่มากที่จะทำให้ไม่ชอบหุ้น
เหตุผลที่บุคคลภายในจะซื้อหุ้นคือ มันมีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
13.   บริษัทกำลังซื้อหุ้นคืน

บทที่9 หุ้นที่ผมจะหลีกเลี่ยง

1.       หุ้นที่ร้อนแรงที่สุดในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรงที่สุดและได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุด
2.       หุ้นของบริษัทที่ถูกกล่าวขานว่าจะเป็นตัวต่อไปของบางอย่าง (เช่น IBMตัวต่อไป Intelตัวต่อไป Disneyตัวต่อไป)
3.       หลีกเลี่ยงบริษัทที่ทำDiworseification (ยิ่งกระจายยิ่งแย่)
4.       ระวังหุ้นกระซิบ
5.       ระวังบริษัทที่ขายสินค้า15-50%ให้กับลูกค้าเพียงรายเดียว
6.       ระวังหุ้นที่มีชื่อที่น่าตื่นเต้น

บทที่10 กำไร กำไร และกำไร

·         หุ้นหนึ่งหุ้นไม่ใช่ล็อตเตอรี่หนึ่งใบ แต่คือความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของธุรกิจ
·         ในระยะยาวราคาหุ้นจะไปตามผลกำไร แม้ในระยะสั้นจะเบี่ยงเบนออกไปบ้าง
·         P/E = ราคาหุ้น/กำไร
·         วิธีพื้นฐาน 5 ประการในการเพิ่มกำไรคือ
1.       ลดต้นทุน
2.       ขึ้นราคาสินค้า
3.       ขยายเข้าสู่ตลาดใหม่
4.       ขายสินค้าในตลาดเดิมให้มากขึ้น
5.       ฟื้นฟูหรือปิดกิจการที่ขาดทุน

บทที่11 การขุดคุ้ย2นาที

·         หาเรื่องราวของหุ้นว่าทำไมการเจริญเติบโตหรือเหตุการณ์ที่ดีกำลังจะเกิดขึ้น
·         สร้างบทพูด2นาทีที่อธิบายว่าทำไมจึงสนใจหุ้นตัวนี้ อะไรจะต้องเกิดขึ้นเพื่อให้บริษัทประสบความสำเร็จ
·         สำหรับหุ้นโตช้า
o   ทำธุรกิจอะไร?
o   มีธุรกิจใหม่ที่จะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโต?
o   กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี?
o   จ่ายปันผลดี ไม่เคยลดหรืองดจ่าย?
·         สำหรับหุ้นแข็งแกร่ง
o   P/Eปรับตัวขึ้นมากในช่วงหลายเดือนนี้หรือเปล่า?
o   เหตุการณ์อะไรที่จะเร่งการเจริญเติบโตของบริษัท
·         สำหรับหุ้นโตเร็ว
o   จุดเด่นอยู่ตรงไหน?
o   จุดเด่นนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วหรือยังว่าจะสำเร็จในที่อื่นๆ
ไม่ต้องรีบลงทุนในธุรกิจที่ยังไม่ได้พิสูจน์
o   ที่ไหนและอย่างไรที่มันจะโตเร็ว?
·         สำหรับหุ้นวัฏจักร
o   สภาวะของธุรกิจ สินค้าคงคลังและราคาสินค้า?
·         สำหรับหุ้นฟื้นตัว
o   ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้น?
o   แผนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร?
·         สำหรับหุ้นทรัพย์สินมาก
o   ทรัพย์สินนั้นคืออะไร? มีมูลค่าเท่าไหร่? หักลบกลบหนี้แล้วเหลือมูลค่าเท่าไหร่?

บทที่12 ค้นหาความจริง

·         หาข้อมูลจากโบรกเกอร์ให้ได้มากที่สุด
·         โทรหาบริษัท
·         ระวังว่ามุมมองต่อเหตุการณ์เดียวกันของคนในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันจะมีความaggressive/conservativeไม่เหมือนกัน
·         เยี่ยมสำนักงานใหญ่
·         พบกับนักลงทุนสัมพันธ์
·         ตรวจเช็คหรือทดลองใช้สินค้า/บริการของบริษัท
·         อ่านรายงานประจำปี

บทที่13 ตัวเลขที่มีชื่อเสียง

·         เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด - หนี้สินระยะยาว(ที่มีดอกเบี้ย)
ฐานะการเงินของบริษัทเข้มแข็งหรือไม่ งบดุลดีขึ้นหรือแย่ลง
·         เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย
ความสำเร็จของสินค้านั้นมีผลต่อยอดขาย(และกำไร)ของบริษัทแค่ไหน
·         P/E
P/Eที่เหมาะสมควรจะน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการโตของกำไร (แนวคิดเรื่องPEG <= 1 มาจากปีเตอร์ลินช์นี่เอง)
·         P/E เทียบกับ (อัตราการเติบโตของกำไร+%ปันผล)
·         ฐานะเงินสด
บริษัทมีแผนจะทำอะไรกับเงินสดที่มีมาก
·         ปัจจัยทางด้านหนี้
o   ส่วนทุน/หนี้ระยะยาว(ที่มีดอกเบี้ย)
o   สำคัญเป็นพิเศษสำหรับหุ้นฟื้นตัวและหุ้นวัฏจักร(บริษัทไหนจะรอด บริษัทไหนจะล้ม)
o   ประเภทของหนี้จากแย่ไปดี : หนี้ธนาคาร < หนี้พันธบัตร,หุ้นกู้แปลงสภาพ
o   ระวังหนี้ที่ต้องชำระเมื่อถูกเรียกร้อง
·         ปันผล
บริษัทสามารถที่จะจ่ายปันผลในช่วงที่เลวร้ายหรือไม่
·         มูลค่าหุ้นทางบัญชี
o   มูลค่าหุ้นทางบัญชีมีความสัมพันธ์น้อยกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท
o   ทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินไปจะมีอันตรายเป็นพิเศษเมื่อมีหนี้สินจำนวนมาก
เมื่อทรัพย์สินสูญเสียมูลค่า แต่หนี้ยังคงอยู่เท่าเดิม à มูลค่าหุ้นติดลบ
o   ถ้าจะซื้อหุ้นเพราะมูลค่าหุ้นทางบัญชี จะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามูลค่าเหล่านั้นคืออะไรจริงๆ
·         ทรัพย์สินที่ซ่อนอยู่
o   ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆที่ลงบัญชีไว้เมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมา
o   แบรนด์ สิทธิบัตร อสังหาริมทรัพย์
o   หุ้นของบริษัทลูกที่ถืออยู่
o   ขาดทุนสะสม(สามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้)
·         กระแสเงินสดอิสระ(กระแสเงินสดหลังหักการลงทุนปกติแล้ว)
·         สินค้าคงคลัง
o   ดูการเพิ่ม/ลดของสินค้าคงคลัง(เทียบกับการเพิ่มขึ้นของยอดขาย)
o   บริษัทย่ำแย่+สินค้าคงคลังเริ่มลดลง = สิ่งต่างๆเริ่มฟื้นตัว
·         กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ
o   (โดยเฉพาะหุ้นฟื้นตัว) ทรัพย์สินมากกว่าภาระที่ต้องจ่ายหรือเปล่า
·         อัตราการเติบโตของกำไร
o   อัตราการเติบโตของบริษัท != อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม
o   ถ้าทุกอย่างเท่ากัน หุ้นเติบโต20%ที่P/E20เท่าดีกว่าหุ้นเติบโต10%ที่P/E10เท่า (ลองคำนวณดูได้)
·         กำไรก่อนหักภาษี
o   บริษัทที่จะถือระยะยาว เลือกที่มีprofit marginสูง
o   หุ้นฟื้นตัว เลือกที่profit marginต่ำๆ (กำไรจะเพิ่มหวือหวากว่าเพราะbaseที่ต่ำ)

บทที่14 ตรวจสอบเรื่องราวใหม่

อย่างน้อยทุกๆไตรมาส

บทที่15 รายการตรวจสอบสุดท้าย


โตช้า
แกร่ง
โตเร็ว
วัฏจักร
ฟื้นตัว
ทรัพย์
P/E ratio (จ่ายแพงหรือเปล่า)
หุ้นโตเร็ว
·   เทียบP/Eกับอัตราการเติบโตของกำไร
·   20-25%กำลังดี สูงกว่านี้ก็อันตราย
x
x
x
x
x
x
%การถือหุ้นของสถาบัน
x
x
x
x
x
x
บุคคลภายในกำลังซื้อ
x
x
x
x
x
x
การเติบโตของกำไร
x
x
x
x
x

สัดส่วนหนี้ต่อทุน(หนี้ระยะยาวที่มีดอกเบี้ย)
x
x
x
x
x
x
ฐานะเงินสด
x
x
x
x
x
x
ปันผลสม่ำเสมอและเพิ่มขึ้น
x





%ปันผลต่อกำไรàระดับเงินสำรองในช่วงเลวร้าย
x





มีการDiworsificationหรือไม่

x




ระหว่างช่วงเศรษฐกิจถดถอยเป็นอย่างไร(แข็งแกร่งจริง?)

x




สินค้าตัวเด่นเป็นส่วนสำคัญของบริษัทหรือไม่


x



การขยายตัวประสบความสำเร็จหรือไม่


x



ยังมีช่องว่างให้โตหรือไม่


x



อัตราเร่งของการขยายตัว(โตช้าลงแค่ไหน)


x



สินค้าคงคลัง



x


ความสัมพันธ์ระหว่างdemand-supply



x


รอบของวัฏจักร



x


โครงสร้างหนี้




x

หนทางที่จะฟื้นตัว




x

ธุรกิจกลับมาหรือยัง




x

ต้นทุนลดลงหรือยัง




x

ทรัพย์สินคืออะไร มูลค่าเท่าไหร่





x
บริษัทกำลังก่อหนี้ใหม่หรือเปล่า





x

สรุปส่วนที่2

·         ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของบริษัทที่เราจะเป็นเจ้าของและเหตุผลในการถือหุ้น
·         จัดหุ้นเข้ากลุ่มเพื่อให้รู้ว่าควรจะคาดหวังอะไรจากหุ้นนั้น
หุ้นตัวหนึ่งอาจจะอยู่ได้ในหลายๆกลุ่มหรืออาจจะเปลี่ยนกลุ่มไปตามช่วงเวลาได้
·         บริษัทใหญ่จะวิ่งช้า บริษัทเล็กสามารถวิ่งเร็วกว่าได้
·         พิจารณาขนาดของผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังกำไรเทียบกับขนาดของบริษัท
·         ตั้งข้อสงสัยในอัตราการเติบโต 50-100%
·         หลีกเลี่ยงหุ้นร้อนในอุตสาหกรรมร้อน
·         ระวังบริษัทที่ดีแต่ราคาหุ้นแพงเกินไป
·         ยอมพลาดการขึ้นของหุ้นในระยะแรกเพื่อรอดูว่าแผนของบริษัทใช้ได้ผลจริง
·         เมื่อสงสัย ค่อยเข้าทีหลังจะดีกว่า (เสียดายดีกว่าเสียใจ)
·         แยกหุ้นเด็ดออกจากคนที่ใบ้หุ้น
หุ้นส่วนหุ้น คนส่วนคน คนเก่งก็อาจจะพลาดได้ หุ้นตัวก่อนที่ใบ้ไปได้สวยก็ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นตัวนี้
·         หาบริษัทเล็กที่กำไรอยู่แล้วและพิสูจน์แนวคิดของมันแล้วว่าเป็นไปได้จริง
·         หาบริษัทที่ดูธรรมดา ดูน่าเบื่อและไม่มีใครสนใจ
·         หาบริษัทที่โต 20-25% ในอุตสาหกรรมที่ไม่โต
·         หาหุ้นของบริษัทที่มีจุดเด่น
·         หาบริษัทที่ซื้อหุ้นคืนสม่ำเสมอ
·         หาบริษัทที่สถาบันถือหุ้นน้อย
·         หาบริษัทที่ฝ่ายจัดการถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ (บริษัทที่เป็นwealthหลักของเจ้าของ)
·         ถ้าจะหาหุ้นฟื้นตัว หาตัวที่มีฐานะการเงินดีและมีหนี้ธนาคารน้อย
·         ดูประวัติการทำกำไรและการจ่ายปันผล
·         กำไรมหาศาลถ้าบริษัทที่มีปัญหาฟื้นตัวได้จริง
·         ซื้อหุ้นจากอนาคตของบริษัท ไม่ใช่ที่คารมของกรรมการผู้จัดการ
·         สร้างเรื่องราวสั้นๆของหุ้นและเฝ้าติดตามเรื่องราวนั้น
·         การซื้อหุ้นของบุคคลภายในอย่างมีนัยเป็นสัญญานบวก
·         สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงสำหรับวิเคราะห์การลงทุน
·         มูลค่าทางบัญชีเป็นภาพลวงตา มูลค่าที่แท้จริงสำคัญกว่า
·         ลงทุนเวลาในการเลือกหุ้นใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น