เล่มที่อ่านเป็น Second Edition ซึ่งมันก็เก่าประมาณนึงแล้ว (ตอนนี้มันปาไปจะ 5th Edition แล้ว ถ้ามี PDF ก็ขอด้วยนะ จุ้บๆ) เนื้อหาอาจจะไม่อัพเดทบ้างอะไรบ้าง คนสรุปก็ไม่ได้เก่งบัญชี ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยนะคร้าบ
บทนี้อธิบายเรื่องการทำ
Accounting
Analysis ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินและส่วนทุน(equity
หรือเรียกภาษาไทยยาวๆว่าส่วนของผู้ถือหุ้น แต่เนื่องจากมันยาว
พิมพ์ยาก ขอเรียกสั้นๆว่าส่วนทุน)
ที่รวมเอาส่วนทุนมารวมในบทนี้ก็เพราะว่ามันคือสินทรัพย์ลบหนี้สินนั่นเองงงงงง
คาดว่า’จารย์Palepuจะตั้งเป็นอีกบทก็ขี้เกียจ
เลยรวมๆกันมาอย่างเนี้ยแหละ ประหนึ่งว่าเป็นของแถม (ทั้งหมดนี้มโนล้วนๆ)
liability หรือภาษาบ้านเราเรียกง่ายๆว่าหนี้
หนี้ตรงข้ามกับสินทรัพย์
เพราะว่าสินทรัพย์คือจ่ายตังค์แล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์
ส่วนหนี้สินคือใช้ประโยชน์ไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายตังค์ เหมือนเดิมนะครับ เราจะสรุปแบบย่อๆเนื่องจากว่ารายละเอียดปลีกย่อยขึ้นกับการลงบัญชีของแต่ละประเทศและแต่ละช่วงเวลากฏเกณฑ์มันก็เปลี่ยนไป
(และเหตุผลหลักคือคนสรุปก็ไม่ได้แม่นเรื่องบัญชีเท่าไหร่นักและขี้เกียจด้วย)
เกณฑ์ที่เราจะถือว่าอะไรซักอย่างนึงเป็นหนี้สินของบริษัทมี
2 ข้อคือ
(1)
ฉันต้องแน่ใจจริงๆว่าฉันต้องจ่าย
(2)
ฉันต้องประมาณได้ว่าฉันต้องจ่ายเท่าไหร่และเมื่อไหร่
ทีนี้ปัญหามันจะเกิดก็ต่อเมื่อบริษัทเกิดอาการงงๆ
เริ่มตีมึนว่า
(1)
ฉันเริ่มไม่แน่ใจแล้วสิว่านี่ฉันต้องจ่ายเธอจริงๆหรือเนี่ย
หรือถามแบบบัญชี้บัญชีก็คงประมาณว่า ฉันต้องตั้งหนี้จริงๆหรือ ตัวอย่างเช่น
o
ค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างองค์กร(restructuring reserve) จะต้องตั้งหนี้เมื่อไหร่ เมื่อประกาศออกมาเหรอ
(แต่สุดท้ายอาจจะไม่ได้ปรับโครงสร้างตามที่โม้ไว้ก็ได้นา)
o
อีกตัวอย่างนึงคือเรื่องโปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบิน
ที่จะมีคำถามว่า บริษัทต้องตั้งหนี้สำหรับไมล์ที่ลูกค้าสะสมได้หรือเปล่า
เพราะลูกค้าบางส่วน(ซึ่งรวมข้าเจ้าด้วย ไม่เคยแลกเลยแม้ซักครั้งในชีวิต
เพราะสะสมไม่ถึงเป้า)ก็อาจจะไม่ได้เอาไมล์นั้นมาแลกเป็นเที่ยวบินฟรี
หรือถึงอยากแลกก็อาจจะแลกไม่ได้เพราะไม่มีเที่ยวบินที่อยากไป(อันนี้ไม่รู้
ไม่เคยใช้) และสายการบินก็มีสิทธิ์เปลี่ยนโปรโมชั่นเมื่อไหร่ยังไงก็ได้ด้วย แต่ไอ้ครั้นจะไม่ตั้งหนี้เลย
ก็จะเป็นที่ครหาว่างบการเงินไม่สะท้อนต้นทุนของบริษัทในการทำโปรโมชั่นอีก
o
คดีฟ้องร้องก็เป็นอีกตัวอย่างนึงว่าบริษัทต้องตั้งหนี้รอไว้สำหรับการเรียกร้องค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเปล่า
เพราะถ้าตั้งหนี้ก็อาจจะถูกมองว่าบริษัทยอมรับผิดกลายๆ
แล้วพาลจะส่งผลต่อรูปคดีหรือเปล่า แต่ก็อีกแหละ
จะไม่ตั้งหนี้เลยก็จะไม่สะท้อนความเสี่ยงของบริษัทในงบการเงินอีก
(ส่วนใหญ่คงบอกในหมายเหตุประกอบงบละมั้ง)
(2)
ฉันก็ยังงงๆว่าแล้วฉันต้องจ่ายเธอเท่าไหร่เมื่อไหร่เนี่ย
o
อย่างพวกค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม(environmental liabilities ซึ่งเมืองไทยคงไม่มีวันจะมีรายการนี้) ซึ่งค่าใช้จ่ายมันขึ้นกับว่า
สิ่งแวดล้อมนั้นเสียหายแค่ไหน จะใช้วิธีไหนในการฟื้นฟู
แล้วบริษัทมีเอี่ยวกะเค้าแค่ไหน
แล้วสรุปว่าบริษัทควรจะตั้งหนี้เมื่อไหร่เท่าไหร่ล่ะ
o
หรือสวัสดิการพนักงานประเภทเงินที่ต้องจ่ายตอนพนักงานเกษียณ
พวกกองทุนสมทบไรงี้ การจะประมาณการค่าใช้จ่ายมันขึ้นกับหลายๆปัจจัย เช่นว่า
พนักงานจะอยู่กับบริษัทอีกนานแค่ไหน เงินเดือนสุดท้ายจะเป็นเท่าไหร่
แล้วกองทุนจะทำกำไรได้แค่ไหน (หักเงินเกษียณแล้วจะเหลือเป็นหนี้อีกเท่าไหร่)
แล้วจะคิดอัตราลดเป็น present
value เท่าไหร่ เป็นต้น ตัวเลขทั้งหมดนี้เดากันล้วนๆ
o
อีกตัวอย่างนึงก็พวก
loss reserve ของเงินประกัน
อันนี้ก็เดาเอาจากตัวเลขในอดีตเหมือนกันว่ามันน่าจะประมาณเท่านั้นเท่านี้
ส่วนเรื่องความคลาดเคลื่อนโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่จะว่ากันไป
o
อันสุดท้ายพวกค่าใช้จ่ายในการรับประกันสินค้า
อย่างพวกบริษัทรถที่เรียกคืนรถรุ่นนั้นรุ่นนี้เนื่องจากอุปกรณ์โน่นนี่นั่นอาจมีปัญหาระเบิดไฟลุกท่วมในวันโลกาวินาศเมื่อดาวศุกร์โคจรมาซ้อนกับดวงจันทร์ในระนาบเดียวกัน(ว่าไปนั่น)
ค่าใช้จ่ายพวกนี้ก็ต้องประมาณการจากตัวเลขในอดีตเหมือนกัน
หรือถ้ามั่นใจว่าคุณภาพสินค้าดีขึ้นก็อาจจะตั้งหนี้น้อยลงก็ได้
(3)
เอ๊ะ
หรือมูลค่าหนี้ของฉันมันเปลี่ยนไปแล้วละเนี่ย
เช่นพวกที่มีการปรับโครงสร้างหนี้เป็นต้น
เป็นอันว่าจบในส่วนของ
liability และเราจะต่อกันสั้นๆในส่วนของ
equity หรือส่วนทุน ซึ่งได้มาจากสินทรัพย์ลบหนี้สินนั่นเอง
มันน่าจะง่ายถ้าเราวิเคราะห์งบเรื่องสินทรัพย์กับหนี้สิน
ปัญหาความน่าเชื่อถือหรือความเสี่ยงใดๆที่เกิดกับงบส่วนสินทรัพย์และหนี้สินก็จะส่งผลถึงส่วนทุนทางอ้อมนั่นแหละ
(เพราะมันเอามาคำนวณหาส่วนทุน)
แต่มันก็ยังมีประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับส่วนทุนอีก เช่น
(1) อะไรที่มันเป็นลูกครึ่งหนี้ครึ่งทุน(hybrid securities) เช่น
หุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible debt) ซึ่งเป็นการให้กู้เงินแบบที่สามารถแปลงเงินกู้เป็นหุ้นได้
ในทางทฤษฎีแล้ว เราสามารถแบ่งหุ้นกู้แปลงสภาพออกมาเป็นส่วนที่เป็นหนี้กับส่วนที่เป็นทุนได้ล่ะ(ซึ่งแปลว่าคนสรุปก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำยังไง)
แต่ในทางบัญชีบังคับให้ลงเป็นหนี้สินเท่านั้น(ปานประหนึ่งว่ามันแปลงสภาพไม่ได้)
(2)
unrealized gains and losses หรือกำไรที่ได้จากเงินลงทุนแต่ยังไม่ได้เห็นเป็นเงินสดจะบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนหรือเปล่า หรือจะไปเพิ่มที่ส่วนทุนเลยโดยไม่ผ่านงบกำไรขาดทุน อันนี้ก็มีเกณฑ์ทางบัญชีกำกับอยู่ว่าต้องลงแบบไหน
จบบทที่ห้าแค่นี้แหละครับ เจอกันครั้งหน้าเรื่อง Revenue Analysis เลยนะฮ้าฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น