วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Strategy Analysis - สรุปความจากหนังสือ Business Analysis & Valuation บทที่ 2 ตอนที่ 2

ชื่อเต็มๆคือ Business Analysis & Valuation Using Financial Statements ตำราเทพของอาจารย์Palepu, Healy และ Bernard

เล่มที่อ่านเป็น Second Edition ซึ่งมันก็เก่าประมาณนึงแล้ว (ตอนนี้มันปาไปจะ 5th Edition แล้ว ถ้ามีPDFก็ขอด้วยนะ จุ้บๆ) เนื้อหาอาจจะไม่อัพเดทบ้างอะไรบ้าง คนสรุปก็ไม่ได้เก่งบัญชี ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยนะคร้าบ

หลังจากตอนที่แล้วเราสรุปกันเรื่อง Strategy Analysis >> Industry Analysis ซึ่งใช้ Five Forces ในการวิเคราะห์ และอธิบายถึง Forces 3 ตัวแรกคือ 
(1) คู่แข่งขันเดิมในตลาด
(2) คู่แข่งใหม่ๆที่จะเข้ามา และ
(3) สินค้าทดแทน
สามปัจจัยนี้เป็นตัวกำหนดว่า ในอุตสาหกรรมนั้นๆมีโอกาสทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหน อีกสองปัจจัยที่เหลือคือ
(4) อำนาจการต่อรองของลูกค้า
(5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
จะเป็นตัวกำหนดว่า โอกาสตรงนั้นใครจะได้ไประหว่างลูกค้าของเรา บริษัทเรา หรือว่าซัพพลายเออร์ของเรา

อำนาจการต่อรองของลูกค้าจะขึ้นกับสองปัจจัยย่อยๆอีกคือ 
a) price sensitivity คุณลูกค้าสนใจเรื่องราคาหรือเปล่า
คุณลูกค้าสนใจเรื่องราคาหรือเปล่านั้นก็ขึ้นกับว่า
-         สินค้าที่เราขายให้นั้นมีความแตกต่างจากเจ้าอื่นหรือเปล่า
-         switching cost ของลูกค้าสูงหรือเปล่า
-         ราคาของสินค้าเราต่อโครงสร้างต้นทุนของลูกค้า
ถ้าสินค้าเราเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของลูกค้าละก็ ลูกค้าก็จะสนใจที่จะลดต้นทุนส่วนนี้แล้วก็จะต่อราคาสะบั้นหั่นแหลกแน่นอน แต่ถ้าสินค้าเราเป็นแค่ต้นทุนเสี้ยวเล็กๆของลูกค้าแล้ว ราคาสินค้าเราจะแพงนิดแพงหน่อย ใครที่ไหนจะมาสนใจ
-         สินค้าเรามีความสำคัญสำหรับลูกค้าหรือเปล่า
แน่นอนว่าลูกค้าเราก็ซื้อของจากเราไปผลิตของขายของเค้าอีกทีนึง (ไม่ได้ซื้อไปทิ้งทะเล) ดังนั้น ถ้าสินค้าของเรามีส่วนชี้เป็นชี้ตายเรื่องคุณภาพหรือความน่าเชื่อถือของสินค้าของลูกค้า(งงมะ) ถึงราคาเราจะแพงไปหน่อย แต่ถ้าทำให้สินค้าของลูกค้าดูดีมีคุณภาพ มันก็โอเค
b) bargaining power คุณลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองหรือเปล่า
ถึงคุณลูกค้าจะสนใจเรื่องราคาและยอมลงทุนลงแรงต่อราคาหรือหาเจ้าที่ให้ถูกที่สุด แต่ลูกค้าจะมีอำนาจพอที่จะต่อรองกับเราหรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับว่า
-         มีคนขายของเหมือนเราเยอะหรือเปล่า
-         ลูกค้าซื้อของเราเยอะๆหรือเปล่า (ลูกค้าสำคัญกับรายได้ของเราแค่ไหน)
-         มีสินค้าอื่นที่ใช้แทนสินค้าเราหรือเปล่า
-         switching cost ของลูกค้าสูงหรือเปล่า
-         สินค้าเรามีความสำคัญสำหรับลูกค้าหรือเปล่า

ตัวอย่างในหนังสือพูดถึงนักบินกับสายการบิน โดยมองว่าสายการบินเป็นลูกค้า ในกรณีนี้ นักบินโคตรสำคัญสำหรับสายการบินมาก (ไม่มีนักบินเครื่องบินก็บินไม่ได้ นักบินห่วยๆก็อันตราย เครื่องบินตกเสียชื่อเสียงและจะวุ่นวายกันไปหมด) ดังนั้น นักบินสำคัญกับสายการบินมาก ดังนั้น นักบินมีอำนาจต่อรองสูงกว่า ดังนั้น นักบินได้เงินเยอะ - -;
จบเรื่อง five force และ industry analysis แค่นี้ อย่างงว่า อ้าว แล้วอันสุดท้ายเรื่องอำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์หายไปไหน เพราะจะเป็นเรื่องระหว่างลูกค้า.vs.บริษัท หรือบริษัท.vs.ซัพพลายเออร์มันก็ครือๆกันนั่นแล
เสริมเรื่องจุดอ่อนของ industry analysis อีกนิดนึงว่า การตีกรอบว่า industry นั้นเอาแค่ไหนมีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลกับผู้เล่นในตลาดว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าตีกรอบ industry ผิด ผลการวิเคราะห์ก็อาจจะแตกต่างออกไปเลย

เดี๋ยวคราวหน้ามาต่อเรื่อง Competitive Positioning ครับ

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Passing Request from AngularJS to Django

transform POST data before send from Angular to Django (with array of object)

// NOTE: this 2 lines for Django to receive POST data
$httpProvider.defaults.headers.post['Content-Type'] = 'application/x-www-form-urlencoded; charset=UTF-8';
$httpProvider.defaults.transformRequest = function(data) {
   if (data === undefined) {
      return data;
   }
   // NOTE: if transform this way -> at Django use json.loads(request.body)
   // can support array of object (no need to use getlist() at Django side)
   return JSON.stringify(data);
   // NOTE: if transform this way -> at Django use request.POST['key']
   // array of object will be sent with key like 'rows[10][id]', 'row[10][revenue]'
   // need to parse at Django side
// return $.param(data);
}

Passing Django's CSRF token through AngularJS

option 1:
var csrf_token = $('input[name="csrfmiddlewaretoken"]').val();
$http.post("/import_actual_simple_xls", postData, {
    headers: {'Content-Type': 'application/x-www-form-urlencoded; charset=UTF-8', "X-CSRFToken" : csrf_token},
}).success(function(data, status, headers, config) {
    //other things to do when success

    ...
});

option 2:
ImportControllers.config(['$httpProvider', function($httpProvider) {
    // NOTE: this 2 lines for Django's csrf_token   

    $httpProvider.defaults.xsrfCookieName = 'csrftoken';
    $httpProvider.defaults.xsrfHeaderName = 'X-CSRFToken';
}]);

AngularJS - Any way for $http.post to send request parameters instead of JSON?

When post data using AngularJS' $http or $http.post(),
at Django side, request.POST is an empty dict but request.body has JSON string.

Use method in this page to transform request data JSON string --> request data parameter,
e.g.
{"param1":"value1","param2":"value2","param3":"value3"} --> param1=value1&param2=value2&param3=value3

Set up global transformRequest function:

var app = angular.module('myApp');

app.config(function ($httpProvider) {
    $httpProvider.defaults.transformRequest = function(data){
        if (data === undefined) {
            return data;
        }
        return $.param(data);
    }
});

Sample non-global transformRequest per call:

var transform = function(data){
    return $.param(data);
}


$http.post("/foo/bar", requestData, {
    headers: { 'Content-Type': 'application/x-www-form-urlencoded; charset=UTF-8'},
    transformRequest: transform
}).success(function(responseData) {
    //do stuff with response

    ....});

For Hidden Field to Send Form Data

use <input name="stock_code" type="hidden" value="{{ actual.code }}">

Excel File Upload

After spending THE WHOLE DAY surfing internet, trying to find the way to send form data (including uploaded file) from AngularJS front-end to Django backend, here are what I get.
jQuery Form is my HERO.
My solution here is
- use jQuery Form to submit form data and file upload to backend.
- use dataType: 'html' for option passed to jQuery Form (I didn't know why but 'xml' didn't work).
- pass callback function to jQuery Form to update models when got response back.
- in the callback function, use $scope.$apply() to force AngularJS refresh its model after posted.
- no progress bar, no upload multiple files here because I don't need it now, but I really appreciate if you could guide me how to do.
NOTE: an example of upload progress here >> http://jquery.malsup.com/form/progress.html

html part (sample form which has both primitive data (multiplier) and file upload (input_excel))

<div id="div_load_xls" class="user-form col-lg-8" ng-app='myApp' ng-controller='importXlsController'>

    <form id="frm_load_xls" ng-submit='submitXls()' class="form-horizontal" method="post">

    {% csrf_token %}

        <input id="id_multiplier" name="multiplier" type="text" />

        <input id="id_input_excel" name="input_excel" type="file" />

        <input type="submit" name="validate_simple_actual" value="Validate" />

    </form>

</div>


Javascript part


<script src='/static/lib/js/angular-1.0.8.js'></script>    
<script src='/static/lib/js/jquery.form.js'></script>    

<script language="javascript" type="text/javascript">

    // get CSRF token from form's hidden field (generated from {% csfr_token %})

    var csrf_token = $('input[name="csrfmiddlewaretoken"]').val();

    // define AngularJS module and controller
    var myAppModule = angular.module('myApp', []);
    myAppModule.controller('importXlsController', importXlsController);

    // controller definition
    function importXlsController($scope, $http) {
        // function called when click submit button (ng-submit in the above form)
        $scope.submitXls = function() {

         // submit options
         var options = {
            dataType: 'html', // don't know why, but I used 'xml' and it didn't work
            url: '/import_actual_simple_xls', // to Django backend
            success: $scope.showResponse // callback function to process response defined below
         }

         // submit form data
         $('#frm_load_xls').ajaxSubmit(options);
      };

      // callback function to process response
      $scope.showResponse = function(responseText, statusText, xhr, $form) {
          // update model fields
          // use $apply to force AngularJS view to refresh
          $scope.$apply( function() {
               $scope.messages = jQuery.parseJSON(responseText);
         });
        };
    };

</script>


django backend (urls.py omitted)

def import_actual_simple_xls(request):
    // read primitive form data

    mul = request.POST.get('multiplier', None)

    if mul:
        messages.append('multiplier = %s' % mul)
    else:
        messages.append('No multiplier')

    // get file uploaded (handle error if needed)
    input_excel = request.FILES.get('input_excel', None)
    if not input_excel:
        messages.append('No Xls')
    else:
        book = xlrd.open_workbook(file_contents=input_excel.read())
        if ('Question List' in book.sheet_names()):
            messages.append('xls OK')
        else:
            messages.append('xls NG')
    return JSONResponse(messages)

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Strategy Analysis - สรุปความจากหนังสือ Business Analysis & Valuation บทที่ 2 ตอนที่ 1

ชื่อเต็มๆคือ Business Analysis & Valuation Using Financial Statements ตำราเทพของอาจารย์Palepu, Healy และ Bernard

เล่มที่อ่านเป็น Second Edition ซึ่งมันก็เก่าประมาณนึงแล้ว (ตอนนี้มันปาไปจะ 5th Edition แล้ว ถ้ามีPDFก็ขอด้วยนะ จุ้บๆ) เนื้อหาอาจจะไม่อัพเดทบ้างอะไรบ้าง คนสรุปก็ไม่ได้เก่งบัญชี ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยนะคร้าบ

มาต่อกันที่บทที่ 2 เรื่อง Strategy Analysis ครับ
กลยุทธของบริษัทแบ่งได้เป็น 3 เรื่องหลักๆ
1.       industry choice คือ บริษัทเลือกที่จะทำธุรกิจในตลาดไหน
2.       competitive positioning คือ บริษัทเลือกที่จะสู้กับคู่แข่งแบบไหน
3.       corporate strategy คือ บริษัทเลือกที่จะลุยเดี่ยวหรือสู้แบบเป็นกลุ่ม

Industry Analysis

การวิเคราะห์ในเรื่องแรกคือ industry analysis จะวิเคราะห์โดยใช้ five forces ซึ่งมีปัจจัยหลัก 5 ตัวที่สามารถแบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่มได้ กลุ่มแรกคือปัจจัยที่เป็นตัวตัดสินว่ามีโอกาสทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหนในตลาด หรือพูดอีกแบบนึงว่าในตลาดนั้นแข่งขันกันมากน้อยแค่ไหน(ถ้าแข่งกันเลือดสาด โอกาสทำกำไรได้เยอะๆก็น้อยลง) ปัจจัยในกลุ่มนี้ได้แก่
1.       ผู้เล่นหน้าเดิมๆในตลาด
2.       ผู้เล่นหน้าใหม่ๆที่อาจจะเข้ามา
3.       สินค้าทดแทนที่จะมาแย่งส่วนแบ่งตลาด
ส่วนปัจจัยกลุ่มที่สองจะเป็นตัวกำหนดว่า แล้วไอ้เจ้ากำไรเยอะๆเนี่ย ใครจะเป็นคนได้ไปมากน้อยแค่ไหน อันนี้ก็ขึ้นกับอำนาจการต่อรองของผู้เล่นในตลาด ซึ่งนอกจากตัวบริษัทแล้วก็จะมี
4.       อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5.       อำนาจการต่อรองของผู้ขาย
เราจะไล่ดูไปทีละข้ออย่างละเอียด (เพราะหนังสือเล่มนี้อธิบายเรื่อง five forces ได้ดีที่สุดเท่าที่เคยอ่านมาเลย)

เริ่มจากข้อแรก เรื่องผู้เล่นหน้าเดิมๆในตลาด แน่นอนว่า ถ้ามีผู้เล่นเยอะ ตลาดนั้นก็จะแข่งกันแรง จะขายแพงๆก็คงลำบาก กำไรก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย ทีนี้ ผู้เล่นในตลาดนั้นจะถือว่าเยอะหรือน้อยก็ขึ้นกับหลายๆปัจจัยอีก เช่น
-         ตลาดโดยรวมยังโตอยู่มั้ย
ถ้าตลาดโดยรวมยังโตอยู่ คู่แข่งก็ไม่จำเป็นต้องแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันเอง ดังนั้นการแข่งขันก็จะไม่รุนแรงนัก
-         มีบริษัทที่เป็นเจ้าใหญ่ๆหรือเปล่า
ถ้ามีบริษัทที่เป็นเจ้าใหญ่ๆ 2-3 เจ้า บริษัทพวกนั้นก็จะเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้นการแข่งกันตัดราคาก็จะน้อย
-         สินค้ามีความแตกต่างแค่ไหน switching cost ของลูกค้าสูงหรือต่ำ
ถ้าสินค้ามีความแตกต่างกันพอสมควร หรือ switching cost สูง การจะเปลี่ยนยี่ห้อหรือเปลี่ยนบริษัทก็จะยาก การตัดราคาเพื่อแย่งลูกค้ากันก็จะน้อย

ข้างบนนั้นแต่ละข้อเขียนด้วยตัวสีน้ำเงิน คือถ้ามีปัจจัยพวกนี้ ก็จะดีกับบริษัทในตลาด แต่ข้อต่อๆไปที่เป็นตัวสีแดงคือ ถ้ามีก็ตัวใครตัวมัน
-         เป็น scale/learning economy หรือเปล่า
scale economy คือ ยิ่งผลิตเยอะยิ่งต้นทุนต่ำ ส่วน learning economy คือยิ่งผลิตเยอะยิ่งมี know-how มาก ยิ่งต้นทุนต่ำ ดังนั้น ถ้ามีลักษณะเหล่านี้ การที่มี market share เยอะๆก็จะดี ดังนั้น สงครามราคาก็จะเกิดขึ้นเพื่อแย่ง market share กัน
-         ต้นทุนคงที่สูงหรือเปล่า
ถ้าต้นทุนคงที่สูง หมายความว่ายิ่งผลิตเยอะ ต้นทุนต่อหน่วยก็จะยิ่งต่ำ อันนี้ก็เหมือนข้อข้างบนคือ market share เยอะจะได้เปรียบ ดังนั้น สงครามราคาก็จะตามมา
-         มีกำลังการผลิตมากเกินความต้องการหรือเปล่า
แน่นอนว่าถ้ากำลังการผลิตมากเกิน ก็จะแย่งกันผลิต แย่งกันขาย แย่งกันตัดราคาอยู่แล้ว (ยังไงก็ดีกว่าปล่อยเครื่องจักรทิ้งไว้เฉยๆละมั้ง)
-         อุปสรรคในการออกจากตลาด (barrier of exit)
ถ้าการออกจากตลาดเป็นเรื่องยาก ถึงบริษัทจะไม่ได้กำไรเท่าไหร่นักก็คงจะทู่ซี้ทำกันไป ทำให้จำนวนคู่แข่งไม่ค่อยลดลง การแข่งขันก็จะรุนแรง

ต่อด้วยข้อที่สอง เรื่องผู้เล่นหน้าใหม่ๆที่จะเข้ามาในตลาด แน่นอนว่า ถ้าตลาดนั้นทำกำไรได้ดี๊ดี ใครที่เงินถึงก็อยากจะเข้ามาทำบ้าง คู่แข่งในตลาดก็จะเยอะขึ้นเรื่อยๆ กำไรที่เคยดี๊ดีก็จะดีน้อยลง ทีนี้ การที่จะเข้าสูตลาดจะยากหรือง่ายก็ขึ้นกับหลายๆปัจจัยอีก เช่น
-         economy of scale
ปัจจัยนี้จะส่งผลแตกต่างจาก five force ข้อแรก(ซึ่งเป็นตัวสีแดง) ในกรณีนี้ ถ้าตลาดมี economy of scale ผู้เล่นหน้าใหม่จะเข้ามาได้ยาก เพราะถ้าเข้ามาโดยเริ่มต้นด้วยไซส์เล็กๆ ต้นทุนก็จะสูง จะขายสู้เจ้าเดิมๆไม่ได้ แต่ถ้าจะเข้ามาด้วยไซส์ใหญ่ๆเลย ก็ต้องลงทุนเยอะ เงินไม่หนาจริงไม่มีสิทธิ์ economy of scale ในที่นี้อาจจะเป็นเรื่อง R&D ที่ต้องมีการวิจัยพัฒนาเยอะกว่าจะได้ขาย หรือต้นทุนในการโฆษณา (ต้องโฆษณาหนักๆกว่าจะติดตลาด) หรือต้องลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์สูงๆ เป็นต้น
-         เริ่มก่อนได้เปรียบรึเปล่า
ถ้าเป็นตลาดที่ผู้เล่นที่เข้ามาก่อนได้เปรียบ เช่น
o   สามารถตั้งมาตรฐานของสินค้าได้
o   ต้องแย่ง resource ที่มีจำกัด เช่น supplier, distribution channel, license เป็นต้น
o   มี learning economy
o   switching cost ของลูกค้าสูง
ถ้าเป็นแบบนี้ พวกที่ตามเข้ามาทีหลังก็จะเสียเปรียบ ดังนั้นก็จะไม่ค่อยมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามามากนัก
-         การเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายหรือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ายากหรือเปล่า
ถ้ามันยากหรือต้องใช้เวลา ผู้เล่นที่เข้ามาทีหลังก็จะเสียเปรียบ (คล้ายๆกับข้อบนเนอะ คือมาก่อนได้เปรียบ) ตัวอย่างเช่น การขายรถที่ต้องมี dealer ช่วยขาย หรือสินค้าที่ต้องแย่งพื้นที่จัดวางในร้าน หรือบริการที่ต้องอาศัยความไว้วางใจของลูกค้า (บริษัทที่ปรึกษาต่างๆก็น่าจะใช่)
-         อำนาจการกีดกันของกฏหมายข้อบังคับ
อย่างเช่นพวกลิขสิทธิ์ ใบอนุญาตต่างๆ ตัวอย่างธุรกิจที่มีก็เช่นพวกสื่อวิทยุโทรทัศน์ ธุรกิจสื่อสาร โรงพยาบาล เป็นต้น

ข้อต่อมา เรื่องสินค้าทดแทนที่จะเข้ามาแย่งลูกค้าในตลาด ทำให้ตลาดเล็กลง ผู้เล่นที่เคยขายได้สบายๆก็จะเริ่มลำบากขึ้น สินค้าที่จะเข้ามาทดแทนได้นั้น ไม่จำเป็นต้องหน้าตาเหมือนกัน แต่ขอให้ทำหน้าที่แทนกันได้ก็โอเค เช่น รถเช่าอาจจะเป็นสินค้าทดแทนของตั๋วเครื่องบิน(กรณีที่บินระยะสั้นๆ) ขวดพลาสติกเป็นสินค้าทดแทนของกระป๋อง หรืออาจจะมาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ลูกค้าใช้สินค้าเราน้อยลงหรือไม่ใช้เลย (อันนี้ซวย)
แต่ก็อย่าได้กังวลไป เพราะถึงจะมีสินค้าที่สามารถแทนกันได้ แต่ถ้าราคามันไม่ได้ต่างกันมาก อันนี้ก็ไม่มีผลกระทบมากเท่าไหร่ และปัจจัยอีกอันที่สำคัญกว่าคือ แล้วลูกค้าอยากจะเปลี่ยนไปใช้สินค้านั้นหรือเปล่า ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าโหลก็เป็นสินค้าทดแทนของเสื้อแบรนด์ดังเหมือนกันในแง่ที่ว่ามันก็เอามาใส่ได้เหมือนกัน แต่ลูกค้าบางส่วนอาจจะเลือกแบรนด์เนมเพราะใส่แล้วเท่ ดูดี อะไรก็ว่ากันไป (ดังนั้น ถ้ามองในแง่ของ feature ที่จับต้องไม่ได้ เช่นความดูดีมีชาติตระกูล เสื้อโหลก็คงไม่ใช่สินค้าทดแทนของเสื้อแบรนด์เนมละมั้ง)
ทวนอีกครั้งว่า five force ทั้ง 3 ข้อที่อธิบายมานั้น เป็นปัจจัยที่จะบอกเราว่า ตลาดนั้นมีโอกาสทำกำไรสูงๆได้แค่ไหน ซึ่งสรุปว่า ถ้าตลาดแข่งกันดุ(ด้วยผู้เล่นหน้าเดิมหรือหน้าใหม่หน้าไหนๆก็แล้วแต่)หรือตลาดหดตัวลง(ด้วยสินค้าทดแทน) โอกาสจะได้กำไรสูงๆก็น้อย

เดี๋ยวคราวหน้ามาต่อส่วนที่เหลืออีก 2 ตัวใน five forces ครับ

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Framework Overview - สรุปความจากหนังสือ Business Analysis & Valuation บทที่ 1

ชื่อเต็มๆคือ Business Analysis & Valuation Using Financial Statements ตำราเทพของอาจารย์Palepu, Healy และ Bernard

เล่มที่อ่านเป็น Second Edition ซึ่งมันก็เก่าประมาณนึงแล้ว (ตอนนี้มันปาไปจะ 5th Edition แล้ว ถ้ามีPDFก็ขอด้วยนะ จุ้บๆ) เนื้อหาอาจจะไม่อัพเดทบ้างอะไรบ้าง คนสรุปก็ไม่ได้เก่งบัญชี ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยนะคร้าบ

ไล่ไปทีละบทนะครับ สามารถทำได้จนจบหรือเปล่านี่ไม่สัญญา - -;

เริ่มจากบทที่ 1 และรูปที่ 1

รูปนี้อธิบายภาพกว้างๆๆๆๆของตลาดทุนซึ่งประกอบด้วยภาคครัวเรือนที่มีเงินเก็บ(savings)และอยากนำไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน และภาคธุรกิจที่มีไอเดียเจ๋งๆ(business ideas)และอยากได้เงินมาลงทุน ตัวกลางที่เชื่อมสองส่วนนี้เข้าด้วยกันแบ่งเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือตัวกลางด้านไฟแนนซ์(financial intermediaries)ที่นำเงินจากภาคครัวเรือนไปให้ภาคธุรกิจลงทุน เช่นพวกธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ บริษัทประกันทั้งหลาย ส่วนประเภทที่สองคือตัวกลางด้านข้อมูล(information intermediaries) ซึ่งจะนำเอาข้อมูลต่างๆของภาคธุรกิจ(อันมีงบการเงินเป็นหลัก)มาย่อยๆๆแล้วส่งต่อให้ภาคครัวเรือน เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรเอาเงินเก็บอันทรงคุณค่าไปลงทุนที่ไหนดี ตัวกลางในกลุ่มนี้ก็เช่นพวกหนังสือพิมพ์หุ้น นิตยสารการลงทุนต่างๆ พวกผู้ตรวจบัญชีทั้งหลาย และพวกเรตติ้งเอเจนซี่

รูปต่อมาแสดงที่มาที่ไปว่ากว่าจะได้ออกมาเป็นงบการเงิน ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ฝั่งซ้ายมือเป็นปัจจัยจากนอกบริษัท ฝั่งขวามือเป็นปัจจัยภายในบริษัทเอง ตรงกลางคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินโดยตรง ไล่กันเป็นลำดับ เริ่มจาก
·        บนซ้ายคือ business environment คือสภาพแวดล้อมที่บริษัททำธุรกิจอยู่ เช่นพวก ตลาดแรงงาน(หาควายคน) ตลาดทุน(หาเงิน) ตลาดสินค้า(ขายของ) กฏเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ
·        บนขวาคือ business strategy คือกลยุทธของบริษัทว่าจะทำธุรกิจยังไงดี ขายถูกขายแพง ขายหลายอย่าง ขายอย่างเดียว ขายคนรวย ขายคนจน ขายคนแปลกๆ เป็นต้น
·        business environment และ business strategy จะส่งผลออกมาว่า บริษัทจะทำกิจกรรม(ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมเข้าจังหวะ)อะไรบ้างในการทำธุรกิจ
·        ล่างซ้ายคือ accounting environment ว่าคือสภาพแวดล้อมในทางบัญชีว่าผู้คนข้างนอกที่จะเอางบการเงินไปใช้มีใครบ้าง(มั้ง) โดยมีตัวละครตั้งแต่นักลงทุนในตลาดทุน คู่สัญญาของบริษัท กรมสรรพากร ผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น
·        ล่างขวาคือ accounting strategy กลยุทธการลงบัญชีของบริษัทว่าจะเลือกลงบัญชีแบบไหน เช่น ประมาณการเท่าไหร่ดี(มันมีตัวเลขต้องประมาณการในงบการเงินหลายตัวอยู่) หมายเหตุงบจะละเอียดไปเลยหรือแค่พอเป็นพิธี(เดี๋ยวเค้าจะรู้เยอะ) เป็นต้น
·        accounting environment  และ accounting strategy จะส่งผลกับระบบการออกงบการเงินของบริษัท(accounting system ที่อยู่ตรงกลาง) ว่าจะเลือกเอา  business activity ไหน วัดอย่างไร สรุปเป็นผลรวมหรือไม่อย่างไรระดับไหน แล้วคลอดออกมาเป็นงบการเงิน(financial statement)ทุกสามเดือนหกเดือนปีนึงให้เราๆท่านๆได้ปวดหัววิเคราะห์กัน

ลักษณะเด่นๆของ accounting system 3 เรื่องคือ
·        ใช้เกณฑ์คงค้าง(accrual) แทนเกณฑ์เงินสด(actual)
พูดง่ายๆคือ ตัวเลขที่เห็นในงบการเงิน(โดยเฉพาะงบกำไรขาดทุน)ไม่ได้เท่ากันเป๊ะกับเงินสดที่เข้าจริงออกจริง
·        มีมาตรฐานการบัญชีคอยบีบคออยู่
ซึ่งข้อดีคืองบการเงินของบริษัทต่างๆก็จะได้มาตรฐาน ไม่มั่วไปคนละแบบสองแบบ(แต่มั่วๆกันไปในแบบเดียวกัน 555) แต่ข้อเสียคือ บางครั้งงบการเงินก็ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของบริษัทได้100%
·        แต่บริษัทก็มีทางให้เลือกลงบัญชีได้(ภายในกรอบของมาตรฐานการบัญชี)
ซึ่งก็ต้องวัดใจกันเอาเองว่า เค้าจะเลือกวิธีลงบัญชีที่เหมาะสมมากน้อยแค่ไหน
ต่อมา อันนี้รูปสุดท้ายแล้ว รูปนี้คือภาพใหญ่ของการวิเคราะห์งบการเงิน อันประกอบด้วยสิ่งที่เราจะนำมาวิเคราะห์ซึ่งแน่นอนว่ามีงบการเงินเป็นหลัก และข้อมูลประกอบอื่นๆทั้งที่ได้จากวงนอกและวงใน และบวกกับจุดประสงค์ที่เราจะวิเคราะห์(ในฐานะนักลงทุน เจ้าหนี้ ผู้ตรวจบัญชี หรือกรมสรรพากร เป็นต้น) จากนั้น เมื่อเราได้หมูมาอยู่บนเขียง(คือมีงบการเงินแล้ว) และตัดสินใจแล้วว่าจะทำอะไรกินดี(รู้จุดประสงค์ในการวิเคราะห์)แล้ว เราก็เริ่มจาก
·        business strategy analysis คือรู้จักบริษัทก่อนว่าทำธุรกิจอะไรยังไง ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง key success factor มีอะไรบ้าง ในตลาดนั้นใครใหญ่ แล้วบริษัทอยู่ตรงไหน
·        accounting analysis คือรู้จักงบการเงินว่าคุณภาพมันดีมันเลวแค่ไหน ตัวเลขไหนต้องระวัง ตัวเลขไหนที่เราต้องคำนวณใหม่
·        financial analysis คือรู้อดีตและปัจจุบันว่ามันดีมันเลวแค่ไหน ดีขึ้นหรือแย่ลง
·        prospect analysis คือเดาอนาคตว่าแล้วมันจะไปยังไงต่อ
ผลที่ได้จาก business strategy analysis จะเป็นข้อมูลที่บอกให้เรารู้ว่า ในงบการเงินต้องระวังอะไร ต้องเน้นตัวเลขไหน แล้วตัวเลขในงบที่เห็นมันดีหรือเลว มันปกติหรือไม่ปกติ แล้วเราจะเอาอนาคตยังไงให้ใกล้เคียง

บทที่ 1 ก็จบประมาณนี้แล