สำนักพิมพ์ WeLEARN
แปลจากหนังสือเรื่อง"The Little Book of Talent" ของ Daniel Coyle
หนังสือเกี่ยวกับเคล็ดลับที่ผู้เขียนสังเกตสังกามาจากโรงเรียนหรือแหล่งต่างๆที่สร้างเหล่าอัจฉริยะออกมาสู่วงการกีฬา ดนตรี ศิลปะและอื่นๆ
ตัวอย่างส่วนใหญ่มาจากการฝึกนักกีฬาหรือศิลปิน แต่บางอันสามารถเอามาปรับใช้กับนักเรียน นักศึกษาหรือคนที่กำลังเตรียมตัวสอบได้ ก็เลยลองสรุปดู
ตั้งต้น | ||
ข้อที่ | คำอธิบาย | สำหรับนักเรียน |
#1 จับจ้องคนที่คุณอยากจะเป็น | เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ | ลองหาเพื่อนที่เก่งๆในห้องซักคนเพื่อเป็นแรงบันดาลใจว่าเราจะเก่งแบบนั้นให้ได้ (เก่งแต่โกงหรือเก่งแต่เห็นแก่ตัวนี่ไม่เอานะ) |
#2 ใช้เวลาวันละ 15 นาทีเพื่อประทับทักษะลงในสมอง | ตั้งอกตั้งใจเฝ้าดูทักษะที่ต้องการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนภาพของมันประทับอยู่ในใจอย่างชัดเจน | ดูมันเข้าไป แต่อย่าออกนอกหน้า เดี๋ยวเค้าจะคิดว่ามีใจ 555 |
#3 อย่าอายที่จะขโมย | พัฒนาการทุกอย่างเป็นผลมาจากการซึมซับข้อมูลใหม่ๆและนำไปประยุกต์ใช้เท่านั้น | ลองถามๆดูว่ามันมีวิธีเรียนวิธีคิดวิธีจดเลกเชอร์ยังไง เผื่อเราเอามาดัดแปลงใช้แบบของเราบ้าง |
#4 จดบันทึก | จดบันทึกผลงานในวันนี้ ไอเดียสำหรับวันพรุ่งนี้ และเป้าหมายสำหรับสัปดาห์ถัดไป | |
#5 ยอมดูเหมือนเป็นคนโง่ | ลองเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆบ้าง แม้จะผิดพลาดและดูโง่ | |
#6 เรียบง่ายดีกว่าหรูหรา | สถานที่ที่เรียบง่ายจะช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้น ความสบายจะทำให้เราลดความพยายามลง |
สถานที่เรียนไม่ต้องหรูเลิศไฮโซมากก็ได้ ง่ายๆพื้นๆก็พอ |
#7 ต้องการฝึกทักษะทางตรงหรือทักษะทางอ้อม | ทักษะทางตรง(hard skill)เน้นความแม่นยำในการทำซ้ำ ทักษะทางอ้อม(soft skill)เน้นการมองแบบแผนให้ออกและตอบสนองต่อสถานการณ์ตามหลัก3Rคือประเมิน(Reading) เล็งเห็น(Regognizing) และตอบสนอง(Reacting) |
ทักษะทางตรงน่าจะพวกความรู้หรือสูตรพื้นฐาน ส่วนทักษะทางอ้อมน่าจะวิธีประยุกต์ใช้กับโจทย์ละมั้ง |
#8 วิญญาณช่างไม้ฝีมือประณีตสำหรับทักษะทางตรง | ใส่ใจทุกรายละเอียด ทำอย่างถูกต้องแม่นยำ(ตั้งแต่ตอนแรกๆ) ให้ความสำคัญกับเทคนิคพื้นฐาน |
ความรู้พื้นฐานเราต้องเป๊ะ สูตรต้องจำได้แม่นไม่ผิดเพี้ยน |
#9 วิญญาณนักสเก็ตบอร์ดสำหรับทักษะทางอ้อม | ทำซ้ำในสถานการณ์หลากหลายรูปแบบ สำรวจทุกแง่มุม เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น อย่ากังวลกับความผิดพลาด |
ลองทำโจทย์หลายๆรูปแบบ สังเกตดูว่าแบบไหนเราพลาดบ่อย แล้วพลาดเพราะอะไร ที่ถูกต้องควรจะเป็นยังไง |
#10 ยกย่องทักษะทางตรง | ทักษะทางตรงเป็นรากฐาน ส่งผลต่อความเก่งกาจในระยะยาวมากกว่า ทักษะทางตรงเหมือนลำต้น ทักษะทางอ้อมเหมือนกิ่งก้านสาขา ลำต้นต้องแข็งแรงก่อนถึงจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้ |
ความรู้พื้นฐานเอาให้เป๊ะ ไม่งั้นตอนไปประยุกต์ใช้จะหลงไปผิดทิศผิดทางได้ |
#11 อย่าเชื่อเรื่องเก่งแต่เกิด | การฉายแววตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ได้บ่งชี้ความสำเร็จในอนาคต | เชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ ถ้าคิดว่าโง่กว่าคนอื่นก็พยายามให้มากกว่า |
#12 กฏ 5 ข้อในการเลือกผู้ฝึกสอน | 1) อย่าเลือกคนที่ทำให้รู้สึกสบายใจและมีความสุข 2) เลือกคนที่ทำให้หวั่นเกรงนิดๆ 3) เลือกคนที่ให้คำแนะนำสั้นๆแต่ชัดเจน 4) มองหาคนที่ชอบปูพื้นฐาน 5) ถ้าทุกอย่างเท่ากันหมด เลือกคนที่มีอายุมากกว่า |
|
พัฒนาทักษะ | ||
#13 ค้นหาจุดกลมกล่อม | จุดที่อยู่สุดขอบความสามารถ จุดที่พยายามอีกนิดก็จะสำเร็จแล้ว | |
#14 ลืมเรื่องเวลาไปซะ | การฝึกฝนวัดกันที่จำนวนครั้งที่ดิ้นรนพยายามจนสำเร็จ ไม่ได้วัดกันที่เวลา | ตั้งเป้าหมายการทบทวนบทเรียนด้วยจำนวนครั้ง ไม่ใช่ด้วยเวลา เช่นนับกันว่าทำโจทย์ให้ถูกวันละกี่ข้อ |
#15 แบ่งทักษะออกเป็นส่วนย่อยๆ | ค่อยๆทำไปทีละน้อย เพราะมันสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของสมอง | แบ่งเนื้อหาในบทเป็นส่วนย่อยๆ |
#16 ขัดเกลาทักษะให้สมบูรณ์แบบวันละหนึ่งส่วนย่อย | เป้าหมายไม่ใช่แค่ฝึกซ้อมจนครบเวลาที่กำหนด | แล้วค่อยๆทำความเข้าใจไปทีละส่วน |
#17 จงตะเกียกตะกาย | เพื่อสร้างความเชื่อมโยงใหม่ๆในสมอง ยิ่งเจ็บใจยิ่งแข็งแกร่ง |
ทำโจทย์หรือทบทวนบทที่เรายังทำไม่ได้หรือยังไม่เข้าใจ อย่ามัวแต่ทำส่วนที่ทำได้แล้วมานั่งสบายใจว่าทำได้เยอะ |
#18 ซ้อมวันละ 5 นาทีดีกว่าสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง | สมองเติบโตทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา ถึงเวลาจะน้อยแต่ให้จดจ่ออย่างเต็มที่และคอยมองหาจุดผิดพลาด ทำให้การฝึกซ้อมกลายเป็นนิสัย(ใช้เวลาอย่างน้อย30วัน) |
ฝึกทุกวัน ทบทวนทุกวัน วันละนิด(หรือวันละมากก็ได้ถ้าไหว) |
#19 คิดว่ามันเป็นเกม | เกมน่าสนุก ต่อเนื่องและน่าตื่นเต้น การฝึกซ้อมจำเจ ไร้จุดหมาย ซ้ำซาก น่าเบื่อ ไร้ชีวิตชีวา |
คิดเกมสนุกเล่น หาเรื่องให้รางวัลตัวเองบ้าง อย่างเช่นตั้งเป้าหมายว่าจะทำโจทย์ให้ถูกติดต่อกัน 50 ข้อ ถ้าทำได้จะได้กินขนม ไรงี้ |
#20 ฝึกซ้อมตามลำพัง | เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นหาจุดกลมกล่อมและสร้างวินัยในตัวเอง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเอง | ฝึกฝนคนเดียว แล้วทำคะแนนดีๆให้เพื่อนมันเซอไพรส์เล่นๆ หุๆๆๆ |
#21 คิดเป็นภาพ | ง่ายต่อการทำความเข้าใจ จดจำและทำตาม | ลองสรุปเนื้อหาของแต่ละบทให้เป็นภาพ คิดซะว่าตัวเองเป็นใบ้หรือกำลังสอนให้คนหูหนวก สิ่งที่ทำได้คือวาดรูป |
#22 แก้ไขทันทีที่เกิดข้อผิดพลาด | อย่าเพิกเฉยและแกล้งทำเป็นไม่มีอะไร จงใส่ใจและแก้ไขความผิดพลาดแต่อย่าฝังใจ |
เมื่อทำโจทย์ผิด ให้ดูเฉลยทันทีว่าเราทำผิดตรงไหน แล้ววิธีที่ถูกคืออะไร |
#23 นึกภาพสายส่งข้อมูลในสมอง | สร้างความเชื่อมโยงใหม่ๆในสมองและเพิ่มความแข็งแกร่งให้มัน ความผิดพลาดคือเครื่องมือในการพัฒนาทักษะ |
|
#24 นึกภาพสายส่งข้อมูลทำงานเร็วขึ้น | ||
#25 ฝึกในที่แคบๆ | ข้อจำกัดสร้างสถานการณ์ที่บีบคั้นและทำให้ต้องดิ้นรนตลอดเวลา | สำหรับนักเรียนอาจจะเป็นการทำโจทย์ในเวลาที่จำกัดก็ได้ ทำให้ต้องดิ้นรนคิดให้เร็วขึ้น |
#26 ฝึกซ้อมแบบเต่าคลาน | ไม่ต้องรีบเป็นให้เร็ว ฝึกซ้อมช้าๆจะทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดเจนขึ้น |
อย่าโดดเข้าหาสูตรลัดทันทีโดยไม่เข้าใจพื้นฐาน |
#27 หลับตา | เพื่อกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิ | หลับ...ไม่ใช่ อาจจะลองหลับตานึกทบทวนบทเรียนในหัวก็ได้ |
#28 ทำท่าทางเหมือนแสดงละครใบ้ | ตัดส่วนเกินออกไป จดจ่อกับสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด | |
#29 ทำเครื่องหมายไว้ทุกครั้งที่ทำถูกต้อง | ทุกครั้งที่ทำได้ถูกต้อง ให้หยุดนิ่งแล้วนึกย้อนกลับไปว่าทำได้อย่างไร | โจทย์ใหม่ๆหรือโจทย์ยากๆที่ทำได้ถูก ลองทบทวนขั้นตอนดูอีกทีว่าแก้โจทย์ยังไง |
#30 หลับซักงีบ | ช่วยให้สมองเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความเชื่อมโยงในสมองที่พึ่งสร้างขึ้นจากการฝึกซ้อม เตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการฝึกซ้อมครั้งต่อไป |
ตามนั้น หลับให้พอ อย่าฝืน (ซึ่งหมายความว่า ควรเตรียมตัวสอบแต่เนิ่นๆ อย่ามาเร่งสปีดกันตอนใกล้ๆสอบ) |
#31 ทำแบบสุดโต่งเมื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ | การทำอะไรแบบสุดโต่งช่วยให้เรารู้ว่าขอบเขตที่เหมาะสมอยู่แค่ไหน | |
#32 จดจ่อกับเป้าหมาย | จดจ่อกับเป้าหมาย ไม่ใช่ความผิดพลาด การวางกรอบในแง่บวก(positive framing) |
เช่น ฉันจะทำให้ได้เกรดสี่ทุกวิชา ไม่เอาเป้าหมายแบบฉันจะไม่เป็นที่โหล่ |
#33 ปิดหนังสือ | อ่านรอบเดียว ปิดหนังสือแล้วสรุปออกมา เพื่อเพิ่มการดิ้นรนในการ (1) จับประเด็น (2) ประมวลผลและจัดระเบียบ (3) เขียนลงกระดาษ ยิ่งดิ้นรนมาก ยิ่งเรียนรู้มาก |
ตามนั้น |
#34 เทคนิคประกบคู่ | ทำสิ่งที่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ผิด
ทำสิ่งที่ถูกต้องซ้ำอีกครั้ง เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่ถูกต้องและมองเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดเจนขึ้น |
|
#35 ฝึก3พัก10 |
สมองจะสร้างความเชื่อมโยงได้ดีขึ้นถ้าถูกกระตุ้น 3 ครั้ง ฝึกซ้อม 3 รอบ พัก 10 นาทีระหว่างรอบ |
ตามนั้น อาจจะทำโจทย์ 3 ชุด ระหว่างชุดก็พักซัก 10 นาที (ไม่ใช่ทำโจทย์ข้อนึงแล้วพัก 10 นาทีนะ - -;) |
#36 คิดค้นแบบฝึกหัดประจำวัน | เพื่อให้สามารถประเมินความก้าวหน้าได้ต่อเนื่อง | ลองคิดดูเล่นๆขำๆ ถ้าทำได้ก็ให้รางวัลตัวเองนิดนึง |
#37 R.E.P.S. |
การฝึกฝนที่ดีควรจะมี การดิ้นรนพยายามและทำซ้ำ(Reaching and Repeating) การดึงความสนใจ(Engagement) ความสอดคล้อง(Purposefulness) และ ข้อมูลป้อนกลับที่เร็วและชัดเจน(Strong, Speedy Feedback) |
|
#38 หยุดก่อนหมดแรง | ความอ่อนเพลียทำให้สมองทำงานช้าลง | ตามนั้น อย่าหักโหม |
#39 ฝึกทันทีหลังจากแข่งเสร็จ | ช่วยให้แก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างตรงจุด เพราะยังจำได้ว่าพลาดตรงไหน | อันนี้สำคัญ หลังจากสอบเสร็จ ไม่ใช่มานั่งพักผ่อนชิลๆ แต่ให้กลับไปทบทวนบทเรียนส่วนที่คิดว่าทำพลาด |
#40 image training ก่อนเข้านอน | นึกภาพว่าตัวเองกำลังใช้ทักษะที่ปรารถนาได้อย่างสมบูรณ์แบบ | ข้อดีคืออาจทำให้ฝันดีได้ในระหว่างนอน 555 |
#41 ปิดท้ายการซ้อมด้วยสิ่งโปรดปราน | ให้รางวัลเล็กๆน้อยๆกับตัวเอง | |
#42 หนทางสู่การเป็นผู้สอนที่ดี | 1) สร้างความเชื่อใจภายในไม่กี่วินาทีแรกที่พบกับผู้เรียน 2) ให้ข้อมูลที่กระชับและชัดเจน 3) อย่าใช้คำพูดที่คลุมเครือ 4) กำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้ 5) สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความพยายาม 6) ทำให้ผู้เรียนยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง |
เผื่อว่าถ้าน้องไปรับงานสอนพิเศษก็เอาหลักการพวกนี้มาใช้ได้ |
รักษาความก้าวหน้า | ||
#43 เปิดใจรับการทำซ้ำ | การทำซ้ำเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการพัฒนาทักษะ | ทำโจทย์ซ้ำๆได้ไม่ตายหรอก |
#44 เป็นคนใช้แรงงาน | ทุ่มเทเวลาให้กับการฝึกฝนอย่างจริงจัง | ถ้าคิดว่าตัวเองโง่กว่าคนอื่น ก็จงใช้เวลาให้มากกว่าคนอื่น |
#45 อัตราส่วน5:1 | ฝึก5แข่ง1 | อันนี้ไม่ค่อยเกี่ยว |
#46 สร้างนิสัยดีๆแทนการแก้นิสัยแย่ๆ | สมองเก่งในการสร้างความเชื่อมโยงใหม่ๆ แต่ไม่เก่งในการทำลายความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นแล้ว ทุ่มเทพลังไปสร้างนิสัยดีๆ อย่ารีบร้อน ทำใจยอมรับความงี่เง่าของตัวเองในช่วงแรกๆ |
|
#47 ฝึกฝนด้วยการสอนผู้อื่น | เราจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเวลาสอนผู้อื่น | ตามนั้น ผลข้างเคียงคือเราจะเป็นที่รักของเพื่อนๆ จะไม่มีใครมาว่าเราหวงวิชา ถ้าเป็นคนทำงาน ผลดีคืองานจะไม่มามะรุมมะตุ้มอยู่ที่เราคนเดียว |
#48 ให้เวลาอย่างน้อย8สัปดาห์ | การสร้างและขัดเกลาวงจรประสาทต้องใช้เวลา ฝึกไปเรื่อยๆแม้จะยังไม่รู้สึกว่าเก่งขึ้น | ใจร่มๆ ค่อยๆใช้เวลาฝึกฝน เดี๋ยวก็เก่งเอง |
#49 เมื่อติดหล่ม จงเปลี่ยนเกียร์ | ภาวะย่ำอยู่กับที่เกิดขึ้นเมื่อสมองพัฒนาทักษะไปจนถึงขั้นใช้ทักษะได้โดยอัตโนมัติ ให้เปลี่ยนวิธีฝึกฝนเพื่อก่อกวนและกระตุ้นสมอง(เช่นทำให้เร็วขึ้น ทำให้ช้าลง) |
|
#50 บ่มเพาะความทรหด | ความทรหดจะสร้างความแตกต่างในระยะยาว | |
#51 เก็บเป้าหมายไว้เป็นความลับ | จะช่วยสร้างแรงจูงใจได้มากขึ้น | อุบเงียบไว้ อย่าบอกใครจนกว่าจะทำได้ ให้มันเซอไพรส์เล่นๆ 555 |
#52 คิดแบบคนสวน ทำแบบช่างไม้ | คิดอย่างใจเย็นและไม่ด่วนตัดสิน ทำอย่างต่อเนื่องและมีกลยุทธ |
ต้องมีกลยุทธที่ถูกต้องนะ ไม่งั้นเสียเวลาเปล่า ว่างๆก็มานั่งทบทวนกลยุทธหรือแนวทางการเรียนการจัดเวลาก็ดีเหมือนกันนะ |
ขอบคุณค่า~OwO
ตอบลบThanks ka
ตอบลบขอบคุณมากๆ เลยค่า
ตอบลบเยี่ยมคร้าาาาาาาาาาาาาาา
ตอบลบขอบคุณมากๆ ค่ะ
ตอบลบ