เล่มที่อ่านเป็น Second Edition ซึ่งมันก็เก่าประมาณนึงแล้ว (ตอนนี้มันปาไปจะ 5th Edition แล้ว ถ้ามี PDF ก็ขอด้วยนะ จุ้บๆ) เนื้อหาอาจจะไม่อัพเดทบ้างอะไรบ้าง คนสรุปก็ไม่ได้เก่งบัญชี ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดก็ช่วยชี้แนะด้วยนะคร้าบ
ครั้งนี้เราจะมาต่อในเรื่อง Accounting Analysis ซึ่งมันอยูตรงส่วนที่เป็นกรอบสีน้ำเงินๆในรูปข้างล่างนี้
หลังจากที่เราได้ทำ Business Strategy Analysis (กล่องข้างบนตรงกลาง) เป็นที่เรียบร้อย รู้จักมักจี่กับธุรกิจของบริษัทที่เราสนใจเรียบร้อยแล้ว Accounting
Analysis ก็คือการวิเคราะห์คุณภาพของงบการเงิน(อันเป็น input เข้ามาในกระบวนการทำงานของเรา ตามรูปข้างบนก็คือกล่องบนซ้าย)ว่าคุณภาพของมันดีเลวแค่ไหน เชื่อถือได้ประมาณใด การประมาณการและสมมุติฐานต่างๆในงบการเงินสอดคล้องกับกลยุทธของบริษัท(ที่อธิบายกันมาในบทที่2)แค่ไหน ปัจจัยที่มีผลกับคุณภาพของงบการเงินก็อย่างเช่น
-
การเลือกประมาณการที่อาจจะมีวาระซ่อนเร้น
เช่น ประมาณหนี้ให้ต่ำๆ หาวิธีทำให้กำไรทางบัญชีสูงๆ(ผู้บริหารจะได้โบนัสงามๆ
นักลงทุนจะได้แห่มาซื้อหุ้น) หรือทำให้กำไรต่ำๆ(จะได้เสียภาษีน้อยๆ
ลูกค้าจะได้ไม่มากดราคาเรา สหภาพแรงงานจะได้ไม่เรียกร้องอะไรมาก)
เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบน้อยๆ (เดี๋ยวคู่แข่งเราจะรู้เยอะเกินไป)
-
กฏข้อบังคับในการออกงบการเงิน
ซึ่งบางครั้งทำให้ไม่สามารถสะท้อนภาพที่แท้จริงของธุรกิจออกมาได้
-
การประมาณการที่ผิดพลาด
ขั้นตอนคร่าวๆในการทำ Accounting Analysis แบ่งเป็น 6 ขั้นตอนคือ
1.มองให้ออกว่าตัวเลขอะไรในงบการเงินมีความสำคัญกับกลยุทธของบริษัท ตัวอย่างในหนังสือก็เช่น
- ธุรกิจลีสซิ่ง à มูลค่าซากของสินทรัพย์ที่ปล่อยเช่า
- ธนาคาร à หนี้สงสัยจะสูญ
- ค้าปลีก à ตัวเลขสินค้าคงเหลือ
- ธุรกิจผลิตล้านแปด à ยอดคืนสินค้า ยอดเคลม สินค้าคงเหลือ ค่าR&D
(ตัวไหนก็แล้วแต่ว่าบริษัทใช้กลยุทธอะไรในการแข่งขัน)
2.แล้วบริษัทมีอิสระมากน้อยแค่ไหนในการคำนวณตัวเลขเหล่านั้น
ตัวเลขบางอย่างเช่นค่าใช้จ่ายในการวิจัย หรือในการทำการตลาด ค่าโฆษณา จะถูกบังคับให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้บางครั้งไม่สามารถสะท้อนภาพที่แท้จริงของบริษัทได้ เราก็อาจจะให้ความสำคัญกับตัวเลขพวกนี้ในงบการเงินน้อยลง(เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อะไรนัก) หรือมองหาตัวเลขจากแหล่งอื่นๆที่พอจะใช้แทนกันได้
- ธุรกิจลีสซิ่ง à มูลค่าซากของสินทรัพย์ที่ปล่อยเช่า
- ธนาคาร à หนี้สงสัยจะสูญ
- ค้าปลีก à ตัวเลขสินค้าคงเหลือ
- ธุรกิจผลิตล้านแปด à ยอดคืนสินค้า ยอดเคลม สินค้าคงเหลือ ค่าR&D
(ตัวไหนก็แล้วแต่ว่าบริษัทใช้กลยุทธอะไรในการแข่งขัน)
2.แล้วบริษัทมีอิสระมากน้อยแค่ไหนในการคำนวณตัวเลขเหล่านั้น
ตัวเลขบางอย่างเช่นค่าใช้จ่ายในการวิจัย หรือในการทำการตลาด ค่าโฆษณา จะถูกบังคับให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้บางครั้งไม่สามารถสะท้อนภาพที่แท้จริงของบริษัทได้ เราก็อาจจะให้ความสำคัญกับตัวเลขพวกนี้ในงบการเงินน้อยลง(เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อะไรนัก) หรือมองหาตัวเลขจากแหล่งอื่นๆที่พอจะใช้แทนกันได้
3.แล้วบริษัทใช้สมมุติฐานอะไรหรือประมาณการยังไงในการคำนวณตัวเลขเหล่านั้น
ภายในกรอบของความอิสระในการออกงบการเงิน(ตามข้อ2) บริษัทเลือกวิธีที่สะท้อนภาพความจริงที่สุดแล้ว หรือบริษัทเลือกวิธีประมาณการที่มีวาระซ่อนเร้นเพื่อปกปิดอะไรหรือเปล่า โดยเราอาจเปรียบเทียบสมมุติฐานหรือวิธีประมาณการกับงบการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันว่าเหมือนหรือต่างกันยังไง หรือบริษัทมีการเปลี่ยนวิธีประมาณการหรือเปล่า ด้วยเหตุผลอะไร เหมาะสมหรือไม่ บริษัทมีแรงจูงใจอะไรให้บิดเบือนตัวเลขในงบการเงินหรือเปล่า (เช่น D/E ปริ่มๆแล้ว) หรือประมาณการต่างๆที่เคยทำไว้ในอดีตมันใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน มีadjustอะไรกันครึกโครมย้อนหลังหรือเปล่า
- มีรายการระหว่างกันมากน้อยแค่ไหน
ป.ล. ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ไม่ได้บอกว่าถ้ามีสัญญาณเหล่านี้แล้วจะเลวไปเสียหมด บางครั้งอาจเกิดจากการเปลี่ยนกลยุทธของบริษัทก็ได้ แต่แค่ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมแค่นั้น
ภายในกรอบของความอิสระในการออกงบการเงิน(ตามข้อ2) บริษัทเลือกวิธีที่สะท้อนภาพความจริงที่สุดแล้ว หรือบริษัทเลือกวิธีประมาณการที่มีวาระซ่อนเร้นเพื่อปกปิดอะไรหรือเปล่า โดยเราอาจเปรียบเทียบสมมุติฐานหรือวิธีประมาณการกับงบการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันว่าเหมือนหรือต่างกันยังไง หรือบริษัทมีการเปลี่ยนวิธีประมาณการหรือเปล่า ด้วยเหตุผลอะไร เหมาะสมหรือไม่ บริษัทมีแรงจูงใจอะไรให้บิดเบือนตัวเลขในงบการเงินหรือเปล่า (เช่น D/E ปริ่มๆแล้ว) หรือประมาณการต่างๆที่เคยทำไว้ในอดีตมันใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน มีadjustอะไรกันครึกโครมย้อนหลังหรือเปล่า
4.บริษัทเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินละเอียดพอหรือเปล่า
5.มองหาสัญญาณเตือนในงบการเงินที่ควรระวังและขุดคุ้ยเพิ่มเติม เช่น
- อยู่ดีๆก็เปลี่ยนวิธีประมาณการโดยไม่มีเหตุผลที่ดี
- อยู่ดีๆก็มีรายการประหลาดๆเกิดขึ้น
- ลูกหนี้เพิ่มเกินหน้าเกินตายอดขาย
อาจจะมีหนี้สูญหรือยอดคืนสินค้าระเบิดตูมตามมาในงวดถัดไป
อาจจะมีหนี้สูญหรือยอดคืนสินค้าระเบิดตูมตามมาในงวดถัดไป
- สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเกินหน้าเกินตายอดขาย
อันนี้แล้วแต่กรณีไป เช่นถ้าสินค้าคงเหลือเพิ่มเยอะเกิน อาจจะขายไม่ออกแล้ว อาจจะต้องขายเลหลังถูกๆในอนาคตหรือเปล่า สินค้าระหว่างผลิตเพิ่มเยอะ อาจจะเพราะมองว่ามีโอกาสขายได้เยอะเลยเร่งผลิตหรือเปล่า วัตถุดิบเพิ่มขึ้นเยอะ เกิดจากความผิดพลาดในการสั่งซื้อหรือว่าเกิดปัญหาในการผลิตหรือเปล่า
อันนี้แล้วแต่กรณีไป เช่นถ้าสินค้าคงเหลือเพิ่มเยอะเกิน อาจจะขายไม่ออกแล้ว อาจจะต้องขายเลหลังถูกๆในอนาคตหรือเปล่า สินค้าระหว่างผลิตเพิ่มเยอะ อาจจะเพราะมองว่ามีโอกาสขายได้เยอะเลยเร่งผลิตหรือเปล่า วัตถุดิบเพิ่มขึ้นเยอะ เกิดจากความผิดพลาดในการสั่งซื้อหรือว่าเกิดปัญหาในการผลิตหรือเปล่า
- กำไรในงบกำไรขาดทุนกับ cash flow เริ่มจะห่างเหินกันเกินไป
แอบเปลี่ยนวิธีรับรู้รายได้หรือแต่งบัญชีเพื่อให้กำไรออกมางามๆหรือเปล่า
แอบเปลี่ยนวิธีรับรู้รายได้หรือแต่งบัญชีเพื่อให้กำไรออกมางามๆหรือเปล่า
- มีการ write-off ก้อนใหญ่ๆหรือเปล่า
- ทำธุรกิจวิธีแปลกๆเพื่อให้ตัวเลขทางบัญชีออกมางามๆหรือเปล่า
- มี gap ระหว่างงบรายไตรมาสกับงบปีมาก
งบรายไตรมาสอาจจะทำตัวเลขสวยๆ(เพราะการตรวจสอบเข้มข้นน้อยกว่างบปี) พองบปีออกมาตัวเลขต่างกับงบรายไตรมาสราวฟ้ากับเหวหรือเปล่า
งบรายไตรมาสอาจจะทำตัวเลขสวยๆ(เพราะการตรวจสอบเข้มข้นน้อยกว่างบปี) พองบปีออกมาตัวเลขต่างกับงบรายไตรมาสราวฟ้ากับเหวหรือเปล่า
- เปลี่ยนบริษัทผู้ตรวจบัญชีหรือเปล่า เปลี่ยนทำไม มีนัยยะอะไรหรือเปล่า
ป.ล. ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ไม่ได้บอกว่าถ้ามีสัญญาณเหล่านี้แล้วจะเลวไปเสียหมด บางครั้งอาจเกิดจากการเปลี่ยนกลยุทธของบริษัทก็ได้ แต่แค่ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมแค่นั้น
6.คำนวณตัวเลขในงบการเงินใหม่ถ้าจำเป็น
แถมท้ายแบบสั้นๆกับข้อควรระวังในการทำ
accounting analysis 3 ข้อคือ
-
conservative accounting ไม่ใช่เรื่องดี
งบการเงินที่ดีคืองบการเงินที่สะท้อนภาพของบริษัทตามความเป็นจริง ไม่ดีเกินไป ไม่แย่เกินไป
งบการเงินที่ดีคืองบการเงินที่สะท้อนภาพของบริษัทตามความเป็นจริง ไม่ดีเกินไป ไม่แย่เกินไป
-
วิธีลงบัญชีที่แปลกกว่าบริษัทอื่นๆไม่ได้หมายความว่าผิดเสมอไป
บางครั้งอาจจะเป็นเพราะเค้าทำธุรกิจแปลกกว่าคนอื่นก็ได้
บางครั้งอาจจะเป็นเพราะเค้าทำธุรกิจแปลกกว่าคนอื่นก็ได้
-
อย่ามองว่าการเปลี่ยนวิธีลงงบการเงินหมายความว่าบริษัทกำลังแต่งบัญชีเสมอไป
บางครั้งมันก็มีเหตุผลที่สมควร
บางครั้งมันก็มีเหตุผลที่สมควร