หนังสือของสำนักพิมพ์วีเลิร์น เล่าว่าทำยังไงให้แนวคิดที่เราต้องการจะถ่ายทอด"ติดหนึบ"ไปกับผู้ฟัง
หลักการสั้นๆ 6 ข้อคือ ความเรียบง่าย เหนือความคาดหมาย จับต้องได้ น่าเชื่อถือ เร้าอารมณ์และเป็นเรื่องเล่า
คำสาปของความรู้ คนที่รู้ดีอยู่แล้วย่อมไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ไม่รู้ ทำให้สื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ (เพราะจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน) เหมือนคนเคาะทำนองเพลงกับคนเดาชื่อเพลง คนเคาะก็คิดว่าเพลงง่ายๆแค่นี้ ต้องรู้สิ แต่คนเดากลับคิดว่า เพลงไรของมึงวะ - -;
ในสถานการณ์จริงอาจจะเกิดระหว่างครูกับนักเรียน ผู้บริหารกับพนักงาน ...
ถูกต้อง 100% แต่เข้าใจยาก ถ้าเลือกทางนี้ก็คือโดนคำสาปของความรู้แล้ว เลือกเอาถูก 90% แต่คนฟังรู้เรื่องดีกว่า ไม่ต้องเป๊ะเวอร์
- สถิติลอยๆที่มีแต่ตัวเลขอาจจะฟังดูน่าเชื่อถือ แต่ไม่มีใครจำได้หรอก
- เปรียบเทียบตัวเลขสถิติเฉยๆกับสถิติในบริบทที่เข้าถึงได้ เช่น
แบบ ก. : มีพนักงานเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่กระตือรือร้นกับเป้าหมายของทีมและองค์กร
แบบ ข. : มีผู้เล่นเพียง 2 จาก 11 คนที่สนใจทำประตู
แบบ ข.เห็นภาพกว่ากันเยอะ (โดยเฉพาะประเทศไทยที่คนบ้าฟุตบอล)
- ตัวอย่างอ้างอิงแบบสุดๆ เช่นถ้าเคยรักษาความปลอดภัยให้ทำเนียบขาวแล้วละก็ งานรักษาความปลอดภัยที่ไหนก็ทำได้ทั้งนั้นแหละ อะไรทำนองนี้
- การคิดเป็นเหตุเป็นผล(แม้จะในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน) ทำให้คนตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกน้อยลง
- ความต้องการของมาสโลว์ไม่จำเป็นต้องมีลำดับขั้น เราตอบสนองความต้องการทีเดียวหลายๆขั้น หรือในขั้นที่สูงขึ้นไปก็ได้
- ภาวะสองจิตสองใจทำให้การจัดลำดับความสำคัญผิดพลาด ส่งผลให้แก่นของแนวคิดไม่ชัดเจนพอหรือคลาดเคลื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น